เมื่อเจียงซูทะยานแซงกวางตุ้งคว้าตำแหน่งแชมป์มณฑลมั่งคั่งสุด (ตอน 1) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

เมื่อเจียงซูทะยานแซงกวางตุ้งคว้าตำแหน่งแชมป์มณฑลมั่งคั่งสุด (ตอน 1) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

เมื่อเจียงซูทะยานแซงกวางตุ้งคว้าตำแหน่งแชมป์มณฑลมั่งคั่งสุด (ตอน 1)

ท่านผู้อ่านอาจเคยได้ยินว่า การพัฒนาบ้านเมืองในพื้นที่ต่างๆ ของจีนที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็วส่วนหนึ่งเกิดขึ้นการแข่งขันระหว่างกัน แต่ดูเหมือนตำแหน่งแชมป์เก่าของมณฑลกวางตุ้งกำลังสั่นคลอน ใครจะก้าวขึ้นมาทาบชั้น และจะสามารถทำได้หรือไม่ เมื่อไหร่ อย่างไร เราไปคุยกันครับ ...

ในปี 2024 จีนมีขนาดเศรษฐกิจ 134.9 ล้านล้านหยวน หรือราว 18.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 5% ของปีก่อน และสร้างสถิติใหม่ในหลายประการ อาทิ จีดีพีของจีนก้าวทะลุระดับ 130 ล้านล้านหยวนเป็นครั้งแรก

สรุปข่าว

เมื่อเจียงซูทะยานแซงกวางตุ้งคว้าตำแหน่งแชมป์มณฑลมั่งคั่งสุด (ตอน 1) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีน

เมื่อเจียงซูทะยานแซงกวางตุ้งคว้าตำแหน่งแชมป์มณฑลมั่งคั่งสุด (ตอน 1)

ท่านผู้อ่านอาจเคยได้ยินว่า การพัฒนาบ้านเมืองในพื้นที่ต่างๆ ของจีนที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็วส่วนหนึ่งเกิดขึ้นการแข่งขันระหว่างกัน แต่ดูเหมือนตำแหน่งแชมป์เก่าของมณฑลกวางตุ้งกำลังสั่นคลอน ใครจะก้าวขึ้นมาทาบชั้น และจะสามารถทำได้หรือไม่ เมื่อไหร่ อย่างไร เราไปคุยกันครับ ...

ในปี 2024 จีนมีขนาดเศรษฐกิจ 134.9 ล้านล้านหยวน หรือราว 18.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 5% ของปีก่อน และสร้างสถิติใหม่ในหลายประการ อาทิ จีดีพีของจีนก้าวทะลุระดับ 130 ล้านล้านหยวนเป็นครั้งแรก

ในภาพย่อย ขนาดเศรษฐกิจของมณฑลเจ้อเจียงก็ก้าวข้ามหลัก 9 ล้านล้านหยวน ขณะที่ในกลุ่มขนาดเศรษฐกิจหลัก 6 ล้านล้านหยวนก็มีหน้าใหม่อย่างมณฑลเสฉวน เหอหนาน และหูเป่ยเข้าร่วมวง ขณะเดียวกัน ขนาดเศรษฐกิจของนครเซี่ยงไฮ้ และมณฑลอานฮุยก็สามารถทะลุหลัก 5 ล้านล้านหยวน 

ขณะเดียวกัน ผมยังสังเกตเห็นว่า มณฑล/มหานครต่างๆ ของจีนกำหนดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2025 ในระดับ 5% หรือสูงกว่า โดยอาศัยการสร้างความรุดหน้าด้านการผลิตผ่านนโยบายกำลังการผลิตคุณภาพใหม่ (New-Quality Productive Forces) และการขยายอุปสงค์ภายในประเทศ (Domestic Consumption) เป็นสำคัญ 

นี่เป็นสาเหตุว่าเราเห็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อปรับปรุงเครื่องมือและอุปกรณ์อัจฉริยะในสายการผลิต ขณะเดียวกันก็ดำเนินแคมเปญการกระตุ้นภาคการบริโภคภายในประเทศผ่านโปรแกรม “เก่าแลกใหม่” ของสินค้าอุปโภคหลัก รวมทั้งเศรษฐกิจราตรี (Night Economy) และการท่องเที่ยวสอดคล้องกับนโยบาย “เศรษฐกิจวงจรคู่” (Dual Circulation Economy) 

แล้วประเด็นที่ผมจั่วหัวไว้ก่อนหน้านี้มีอะไรที่น่าสนใจบ้าง ผมจะขอเริ่มจากการพาไปทำความรู้จักมณฑลกวางตุ้ง แชมป์เก่า และมณฑลเจียงซู ผู้ท้าชิง กันก่อนครับ

มณฑลกวางตุ้ง มีขนาดในเชิงภูมิศาสตร์ราว 177,900 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของประเทศไทย ปัจจุบัน กวางตุ้งมีจำนวนประชากรเกือบ 130 ล้านคน คิดเป็นราว 9% ของจำนวนประชากรโดยรวมของจีน ซึ่งนับว่ามากที่สุดในบรรดามณฑลของจีน โดยก้าวแซงมณฑลเหอหนานและซานตงนับแต่ปี 2005 

ที่ผ่านมา มณฑลกวางตุ้งถือเป็นพื้นที่ “นำร่อง” สำหรับการเปิดประเทศสู่โลกภายนอกเมื่อกว่า 4 ทศวรรษก่อน และยังเป็น “ต้นแบบ” การปฏิรูปและการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจในยุคหลัง ทำให้กวางตุ้งครองแชมป์มณฑลที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของจีนนับแต่ปี 1989 หรือตลอด 36 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2024 กวางตุ้งมีขนาดเศรษฐกิจเกือบ 14.2 ล้านล้านหยวน เติบโตในอัตรา 3.5% ของปีก่อน 

มณฑลกวางตุ้งมีจุดเด่นในการเป็นฐานการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค เทคโนโลยี และการค้า โดยมีเมืองเศรษฐกิจสำคัญหลายแห่ง อาทิ กวางโจว เซินเจิ้น ตงก่วน ซานโถว จูไห่ หุยโจว และฝอซาน ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อภาคการค้าระหว่างประเทศของจีน 

โดยในปี 2024 การค้าระหว่างประเทศของกวางตุ้งขยายตัว 9.8% เมื่อเทียบกับของปีก่อน โดยมีมูลค่าทะลุ 9 ล้านล้านหยวน หรือราว 2 เท่าของประเทศไทย และสามารถเกินดุลการค้ามาอย่างต่อเนื่อง

กวางตุ้งยังเป็นศูนย์กลางการลงทุนของจีนและต่างประเทศ โดยในเชิงคุณภาพ การเติบโตของการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมก็ดำเนินไปอย่างมีเสถียรภาพ โดยมีมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 1.5 ล้านล้านหยวน ขยายตัว 6.7% ของปีก่อน 

ประการสำคัญ กวางตุ้งได้หันมาให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างการผลิตสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคตมากขึ้น ทำให้การลงทุนเพื่อยกระดับเทคโนโลยีพุ่งทะยาน 11.5% เมื่อเทียบกับของปีที่ผ่านมา และเติบโตในระดับ 2 หลักต่อเนื่องตลอด 24 เดือนที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาก็มีมูลค่า 510,000 ล้านล้านหยวน และมีกิจการไฮเทคในพื้นที่รวมกว่า 77,000 แห่ง 

จึงไม่น่าแปลกใจที่เราเห็นภาคการผลิตที่ล้ำสมัยมีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยภาคการผลิตของยานยนต์พลังงานใหม่เพิ่มขึ้น 43% หุ่นยนต์อุตสาหกรรมกว่า 31% วงจรรวม 21% และสมาร์ตโฟน 12.5%

อย่างไรก็ดี การขยายตัวทางเศรษฐกิจของกวางตุ้งในภาพรวมชะลอตัวลงในช่วงหลายปีหลัง โดยอยู่ในกลุ่มมณฑลที่เติบโตในอัตราที่ต่ำสุด และพลาดเป้าหมายอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ 3 ปีต่อเนื่องกัน ทำให้ขนาดจีดีพีไม่เติบโตเท่าที่ควร และถูกเศรษฐกิจของเจียงซูไล่หลัง

มณฑลเจียงซู ในเชิงภูมิศาสตร์มีขนาดราว 107,200 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ปากแม่น้ำแยงซีเกียง ทางซีกตะวันออกของจีน ในปี 2024 เจียงซูมีจำนวนประชากรเฉียด 90 ล้านคน นับเป็นมณฑลที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดอันดับ 5 ของจีน 

เจียงซูมีจุดเด่นหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความพร้อมพรั่งด้านปัจจัยการผลิต ไม่ว่าจะเป็นทำเลที่ตั้งที่ติดชายฝั่งทะเล และมีสภาพอากาศ ทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านพลังงาน อาทิ ถ่านหิน และปิโตรเลียมนอกชายฝั่งทะเล

โดยที่พื้นที่ปากแม่น้ำแยงซีเกียงเป็น “กลุ่มเมือง” ใหญ่และทันสมัยที่สุดในจีน โดยมีเซี่ยงไฮ้เป็น “หัวมังกร” อุตสาหกรรมได้รับการปรับโครงสร้างอย่างต่อเนื่อง ขณะที่โครงข่ายการคมนาคมและสื่อสารก็เชื่อมต่อกันอย่างดียิ่ง 

เปรียบเทียบมณฑลกวางตุ้งและมณฑลเจียงซู หมัดต่อหมัด


 มณฑลกวางตุ้ง  มณฑลเจียงซู
ขนาดในเชิงภูมิศาสตร์ (ตารางกิโลเมตร)
 177,900    
 107,200
จำนวนประชากร  (ล้านคน)  130 
 90
ขนาดเศรษฐกิจ (ล้านล้านหยวน)  14.1 
 13.7
อัตราการเติบโตในปี 2024 (%)
3.5
 5.8
รายได้เฉลี่ยต่อหัว (หยวนต่อปี)
 108,500
153,000
จุดเด่น    
ฐานการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค เทคโนโลยี การค้าและการส่งออก

ฐานการผลิตอัจฉริยะ สินค้าไฮเทค และอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

เมืองเศรษฐกิจสำคัญ
กวางโจว เซินเจิ้น ตงก่วน ซานโถว จูไห่ หุยโจว ฝอซาน 
 ซูโจว หนานจิง อู๋ซี หนานทง ฉางโจว


ติดตามต่อในตอนหน้าว่าเจียงซูมีอะไรดีๆ อีก และจะก้าวแซงกวางตุ้งได้อย่างไรครับ ...

ที่มาข้อมูล : ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

ที่มารูปภาพ : AFP

แท็กบทความ

เจียงซู
มณฑลเจ้อเจียง
เศรษฐกิจจีน
จีนพัฒนาเศรษฐกิจ
ดร.ไพจิตร