สารเคมีในพลาสติก เอี่ยวเสียชีวิตจากโรคหัวใจกว่า 3.5 แสนราย

สารเคมีในพลาสติก เอี่ยวเสียชีวิตจากโรคหัวใจกว่า 3.5 แสนราย

วารสารอีไบโอเมดิซีน (eBioMedicine) รายงานผลการศึกษาฉบับหนึ่ง ซึ่งระบุว่าสารเคมีที่ตรวจพบในบรรจุภัณฑ์อาหาร พลาสติก รวมถึงโลชั่นและแชมพู มีส่วนเชื่อมโยงกับกรณีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจหลายแสนราย

คณะนักวิจัยพบว่าสารเคมีเหล่านี้หรือสารพาทาเลต (phthalates) มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของคนทั่วโลกมากกว่า 3.5 แสนรายในปี 2018 ซึ่งราวร้อยละ 75 อยู่ในเอเชีย ตะวันออกกลาง และแปซิฟิก สะท้อนความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับปริมาณการแพร่กระจายของพลาสติกในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

สรุปข่าว

สารเคมีที่ตรวจพบในบรรจุภัณฑ์พลาสติก มีส่วนเชื่อมโยงกับกรณีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจหลายแสนราย

วารสารอีไบโอเมดิซีน (eBioMedicine) รายงานผลการศึกษาฉบับหนึ่ง ซึ่งระบุว่าสารเคมีที่ตรวจพบในบรรจุภัณฑ์อาหาร พลาสติก รวมถึงโลชั่นและแชมพู มีส่วนเชื่อมโยงกับกรณีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจหลายแสนราย

คณะนักวิจัยพบว่าสารเคมีเหล่านี้หรือสารพาทาเลต (phthalates) มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของคนทั่วโลกมากกว่า 3.5 แสนรายในปี 2018 ซึ่งราวร้อยละ 75 อยู่ในเอเชีย ตะวันออกกลาง และแปซิฟิก สะท้อนความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับปริมาณการแพร่กระจายของพลาสติกในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

เดอะ วอชิงตัน โพสต์ รายงานว่าคณะนักวิจัยยอมรับว่าการสัมผัสสารพาทาเลตเป็นปัจจัยร่วมกับความเสี่ยงอื่นๆ เช่น โรคอ้วนและความผิดปกติของระบบเผาผลาญ แต่ผลการศึกษานี้เป็นอีกหนึ่งหลักฐานที่บ่งชี้ว่าสารเคมีที่ใช้ในพลาสติกก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง

อนึ่ง สารพาทาเลตเป็นชุดสารเคมีที่เข้าในพลาสติกเพื่อสร้างความยืดหยุ่นหรืออ่อนนุ่มยิ่งขึ้น และเติมเข้าในโลชั่น แชมพู และน้ำหอมเพื่อกักเก็บกลิ่นให้ติดทนนาน แต่สารเคมีตัวนี้ที่นักวิจัยบางส่วนเรียกว่า “สารเคมีทุกหนแห่ง” ได้ปลกกระแสวิตกกังวลจากเหล่านักวิทยาศาสตร์ในวงกว้าง

ที่มาข้อมูล : สำนักข่าวซินหัว

ที่มารูปภาพ : canva

แท็กบทความ

บรรจุภัณฑ์
พลาสติกโรคหัวใจสารเคมี
สารเคมีปนเปื้อน