
นายสุริยชัย รวิวรรณ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร (สปภ.) แถลงข่าวความคืบหน้าเหตุการณ์อาคาร สตง. ถล่ม เขตจตุจักร ว่า ความคืบหน้าจากเมื่อวานคือเราพบร่างผู้เสียชีวิตบริเวณโซน D2 เป็นร่างที่ไม่ได้อยู่ในช่องบันได แต่เป็นร่างที่อยู่ใต้แผ่นพื้นที่ถล่มลงมา 5 แผ่นทับซ้อนกัน ซึ่งพอรื้อแผ่นแรกออกไปก็จะพบว่ามีร่างผู้เสียชีวิตถูกทับอยู่ด้านใต้
ซึ่งสอดรับกับการวิเคราะห์ว่า ตัวชั้นใต้ดินมีชั้นเดียวมีความลึก 4 เมตร และแผ่นปูนที่ถล่มมา 5 แผ่นนั้นถูกทับลงไปในชั้นใต้ดินเนื่องจากแผ่นที่ 5 จะอยู่ในระดับเดียวกับพื้นของชั้นที่ 1 ของอาคาร โดยข้อมูลล่าสุดวันที่ 29 เมษายน 68 เวลา 18.00 น. จำนวนผู้ประสบเหตุ 103 ราย ยืนยันผู้เสียชีวิต 66 ราย อยู่ระหว่างติดตามค้นหา 28 ราย รอดชีวิต 9 ราย
สรุปข่าว
นายสุริยชัย รวิวรรณ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร (สปภ.) แถลงข่าวความคืบหน้าเหตุการณ์อาคาร สตง. ถล่ม เขตจตุจักร ว่า ความคืบหน้าจากเมื่อวานคือเราพบร่างผู้เสียชีวิตบริเวณโซน D2 เป็นร่างที่ไม่ได้อยู่ในช่องบันได แต่เป็นร่างที่อยู่ใต้แผ่นพื้นที่ถล่มลงมา 5 แผ่นทับซ้อนกัน ซึ่งพอรื้อแผ่นแรกออกไปก็จะพบว่ามีร่างผู้เสียชีวิตถูกทับอยู่ด้านใต้
ซึ่งสอดรับกับการวิเคราะห์ว่า ตัวชั้นใต้ดินมีชั้นเดียวมีความลึก 4 เมตร และแผ่นปูนที่ถล่มมา 5 แผ่นนั้นถูกทับลงไปในชั้นใต้ดินเนื่องจากแผ่นที่ 5 จะอยู่ในระดับเดียวกับพื้นของชั้นที่ 1 ของอาคาร โดยข้อมูลล่าสุดวันที่ 29 เมษายน 68 เวลา 18.00 น. จำนวนผู้ประสบเหตุ 103 ราย ยืนยันผู้เสียชีวิต 66 ราย อยู่ระหว่างติดตามค้นหา 28 ราย รอดชีวิต 9 ราย
ปัญหาเรื่องของเครื่องจักรเสียมีทั้งหมด 16 เคส ซ่อมเสร็จแล้ว 14 เคส เพื่อช่วยในการจัดแผนเปิดพื้นที่ โดยต้องมีการเปลี่ยนแผนใหม่ มุ่งเป้าไปจุดชั้นใต้ดิน ที่คาดว่ามีผู้ประสบภัยติดอยู่ คือ โซนช่องบันได D2 มุ่งตรงไปโซน A โดยระหว่างโซน D2 กับ C1 วันนี้จะทำการเปิดพื้นที่ให้ลงถึงชั้นใต้ดินและเจาะให้ทะลุไปเรื่อย ๆ จนถึงโซน A และโซน B มุ่งเป้าไปสู่ช่องบันไดหนีไฟ ที่คาดว่าจะพบผู้ติดค้างอยู่ อีกโซนที่สำคัญที่จะดำเนินการไปพร้อมกัน คือ โซนเชื่อมอาคารด้านหลังกับลานจอดรถที่พังยุบลงมา ซึ่งจากข้อมูลผู้รอดชีวิตแจ้งว่ามีเพื่อนวิ่งตามมาแล้วติดค้างอยู่บริเวณดังกล่าว คาดว่าวันนี้จะสามารถเจาะได้ถึงบริเวณดังกล่าว และคาดว่าจะพบร่างผู้ประสบภัยมากขึ้น
ส่วนการดำเนินการรื้อซากอาคารชั้นใต้ดินให้แล้วเสร็จทั้งหมดยังเป็นไปตามแผน คือ ประมาณ 2 สัปดาห์ หากไม่มีปัญหาอุปสรรคที่เป็นปัจจัยแทรกซ้อน อาทิ พบเสาปูนหรือเหล็กขนาดใหญ่ หรือเครื่องจักรหนักสำคัญชำรุดที่ต้องใช้เวลาในการซ่อมแซม คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้เร็วกว่าแผนที่กำหนด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เปิดขั้นตอนรับเงินเยียวยาครบวงจรเหตุ "แผ่นดินไหว" ยื่นคำร้องภายใน 30 วัน
- แผ่นดินไหวล่าสุด! "อนุทิน" เผยเยียวยาผู้เสียชีวิตรายละ 100,000 บาท
- แผ่นดินไหวล่าสุด! เยียวยาผู้เสียชีวิตตึก สตง. ถล่มแล้วกว่า 38 ล้าน