เตือนภัย ! ค่า PM 2.5 ทะลุสถิติ เครื่องวัดฝุ่นจำเป็นไหม ?

จากรายงานสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 วันที่ 21 มกราคม 2568 โดยศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) พบว่ามีแนวโน้มที่ฝุ่นละออง PM 2.5 จะขยับสูงขึ้นในหลายพื้นที่ ปัจจุบันมีหลายที่ที่เป็นพื้นที่สีแดง หรือมีผลกระทบต่อสุขภาพ 

โดยพื้นที่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ค่าฝุ่นละอองอยู่ในระดับที่มีผลโดยตรงกับสุขภาพแล้ว โดยพื้นที่ที่มีค่าฝุ่นละอองสูงสุดอยู่ที่ 203 AQI และมีค่า PM 2.5 อยู่ที่ 77.5 ug/m2 ในพื้นที่ถนนเพชรเกษม เขตภาษีเจริญ และปัจจุบันพื้นที่ที่มี
ค่ามลพิษ สูงสุดในประเทศไทย ในวันที่ 21 มกราคม 2568 อยู่ในพื้นที่ ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี มีค่าฝุ่นละอองสูงสุดอยู่ที่ 256 AQI และมีค่า PM 2.5 อยู่ที่ 93.2 ug/m2


เหตุการณ์นี้อาจส่งผลกระทบด้านสุขภาพกับคนจำนวนมาก โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่สีแดง


ที่มาภาพ
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.)


เตือนภัย ! ค่า PM 2.5 ทะลุสถิติ เครื่องวัดฝุ่นจำเป็นไหม ?

สรุปข่าว

- ค่าฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐาน ปริมาณฝุ่น PM2.5 ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พุ่งสูงเกินค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ - ผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้หายใจลำบาก ไอ มีเสมหะ แน่นหน้าอก เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจ และ เสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด โรคหัวใจ และมะเร็งปอด - มีเทคโนโลยีเครื่องวัดฝุ่น PM2.5 ตรวจสอบค่าฝุ่นรอบตัวได้แบบเรียลไทม์ และแอปพลิเคชันตรวจสอบคุณภาพอากาศ

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการสูดดม PM 2.5 

สำหรับผลกระทบระยะสั้น อาจทำให้ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น หายใจลำบาก ไอ มีเสมหะ แน่นหน้าอก และสามารถส่งผลให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้เช่นกัน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการหลอดลมอักเสบ และไข้หวัดใหญ่ได้ 

สำหรับผลกระทบระยะยาว อาจทำให้ส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งปอด โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคทางเดินหายใจเรื้อรังด้วยเช่นกัน 


วิธีการป้องกันตัวเองจากการสูดดม PM 2.5 

กรมอนามัย ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข มีคำแนะนำให้สวมใส่หน้ากากอนามัย N95 ทุกครั้งที่ออกจากบ้าน หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ตรวจสอบคุณภาพอากาศอย่างสม่ำเสมอ และปิดให้มิดชิด 


นอกจากนี้ สำหรับใครที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่น่าสนใจ ในการช่วยตรวจจับค่าฝุ่นละออง เช่น เครื่องวัดฝุ่น PM 2.5 แบบพกพา ที่เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมในการตรวจสอบคุณภาพอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีปัญหาฝุ่นละอองสูง เช่น ในเมืองใหญ่


ครื่องวัดเหล่านี้มีหลากหลายรุ่นและยี่ห้อ เช่น 

DustMate จากอังกฤษที่สามารถวัดฝุ่นได้หลายขนาด 

ที่มาของภาพ 
Turnkey Instrument

SNDWAY SW-825 ที่มาพร้อมฟังก์ชันเตือนเมื่อค่าฝุ่นเกินกำหนด 

ที่มาของภาพ 
SNDWAY

Xiaomi YouPin Air Detector ยังโดดเด่นด้วยการเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลที่ละเอียดขึ้น

ที่มาของภาพ 
Xiaomi
นอกเหนือจากเครื่องแล้ว ยังมีอีกแนวทางในการวัดค่าฝุ่นละอองในอากาศในปัจจุบัน ซึ่งก็คือเว็บไซต์ในการตรวจสอบเช็คค่าฝุ่น ที่ในปัจจุบันมีอยู่หลากหลาย แอปพลิเคชัน เช่น AirVisual, Plume Air Report, Air4Thai, Air matters, Airveda, Live Air, My AQI Air, และ Rguard

อย่างไรก็ตาม การซื้อเครื่องวัดฝุ่นละออง จำเป็นหรือไม่? ขึ้นอยู่กับการพิจารณาจากช่วงการวัด ฟังก์ชันการใช้งาน และความสะดวกในการพกพา เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการและงบประมาณของผู้ใช้

หากต้องการข้อมูลที่แม่นยำและทันสมัยเกี่ยวกับคุณภาพอากาศในพื้นที่ที่เราสนใจ การมีเครื่องวัด PM 2.5 ก็จะเป็นตัวช่วยที่ดีในการดูแลสุขภาพของเราและครอบครัว

ท้ายนี้สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ยังคงต้องจับตาอย่างใกล้ชิด กรุงเทพมหานครจะดำเนินมาตรการเพิ่มเติมหากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น ขอให้ประชาชนติดตามข่าวสารและปฏิบัติตามมาตรการที่ทางราชการกำหนด เพื่อปกป้องสุขภาพของตนเองและคนรอบข้าง

แท็กบทความ

PM2.5มลภาวะ
ส่งผลต่อสุขภาพ
พื้นที่สีแดง
ป้องกัน PM 2.5