ยานสำรวจ Blue Ghost ลงจอดบนดวงจันทร์ วันนี้ เวลา 15:34 น. เวลาประเทศไทย

ยานสำรวจ Blue Ghost ของบริษัท Firefly Aerospace มีกำหนดลงจอดบนดวงจันทร์ในวันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม 2568 ช่วงเช้ามืดตามเวลาในสหรัฐอเมริกา หรือเวลา 15.34 น. ตามเวลาในประเทศไทย โดยจะลงจอดที่บริเวณ Mare Crisium หรือ "ทะเลแห่งวิกฤต" บนด้านใกล้ของดวงจันทร์

ก่อนหน้านี้ยานสำรวจ Blue Ghost ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2568 โดยจรวด SpaceX Falcon 9 โดยบรรทุกอุปกรณ์ทดลองขององค์การนาซา (NASA) จำนวน 10 ชิ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Commercial Lunar Payload Services (CLPS) หากการลงจอดสำเร็จ ยานจะใช้เวลาสองสัปดาห์ในการศึกษาพื้นผิวดวงจันทร์


ยานสำรวจ Blue Ghost มีลักษณะเป็นยานลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ ถูกออกแบบให้บรรทุกสัมภาระได้มากถึง 155 กิโลกรัม และรองรับการทำงานบนพื้นผิวดวงจันทร์เป็นเวลานาน ตัวยานมีความสูงประมาณ 3 เมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 เมตร

ยานสำรวจ Blue Ghost ลงจอดบนดวงจันทร์ วันนี้ เวลา 15:34 น. เวลาประเทศไทย

สรุปข่าว

ยานสำรวจ Blue Ghost ลงจอดบนดวงจันทร์ วันนี้ เวลา 15:34 น. เวลาประเทศไทย ยานสำรวจ Blue Ghost ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2568 โดยจรวด SpaceX Falcon 9 โดยบรรทุกอุปกรณ์ทดลองขององค์การนาซา (NASA) จำนวน 10 ชิ้น

กระบวนการลงจอดของยานสำรวจ Blue Ghost จะใช้เวลาประมาณ 63 นาที โดยเริ่มจากการออกจากวงโคจรและเข้าสู่ขั้นตอนการลงจอดแบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ โดยซอฟต์แวร์ของยานจะควบคุมระบบนำทาง กล้อง และเครื่องวัดระยะเพื่อค้นหาตำแหน่งลงจอดที่ปลอดภัย

ภารกิจทางวิทยาศาสตร์ของ Blue Ghost เช่น การติดตั้งอุปกรณ์สะท้อนแสงเลเซอร์เพื่อวัดระยะห่างระหว่างโลกและดวงจันทร์ อุปกรณ์วิเคราะห์ผลกระทบของฝุ่นดวงจันทร์ต่อพื้นผิววัสดุต่าง ๆ การตรวจสอบปฏิสัมพันธ์ระหว่างลมสุริยะกับแมกนีโตสเฟียร์ของโลก 

การเจาะลึกพื้นผิวดวงจันทร์เพื่อตรวจวัดการไหลของความร้อน การทดสอบการป้องกันคอมพิวเตอร์จากรังสีในอวกาศ และอุปกรณ์เก็บตัวอย่างฝุ่นดวงจันทร์ด้วยระบบลม

นอกจากนี้ยังมีภารกิจพิเศษในวันที่ 14 มีนาคม การเริ่มบันทึกภาพสุริยุปราคาเต็มดวงจากดวงจันทร์ได้ และในวันที่ 16 มีนาคม จะถ่ายภาพพระอาทิตย์ตกบนดวงจันทร์ ซึ่งช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ศึกษาฝุ่นที่ลอยขึ้นจากพื้นผิวเนื่องจากอิทธิพลของดวงอาทิตย์

อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการเตรียมการลงจอดหากพบข้อผิดพลาดบริษัท Firefly Aerospace อาจยกเลิกการลงจอดและปล่อยให้ยานโคจรรอบดวงจันทร์อีก 2-3 รอบ ก่อนเริ่มต้นขั้นตอนการลงจอดใหม่อีกครั้ง

ที่มาข้อมูล : Firefly Aerospace

ที่มารูปภาพ : Firefly Aerospace

avatar

พีรพรรธน์ เชื้อจีน