เริ่มแล้ว “หุ่นยนต์ตากล้อง” ทดสอบงานในกองถ่าย ลงพื้นที่เสี่ยงได้ แบกกล้องอึด !

เริ่มแล้ว “หุ่นยนต์ตากล้อง” ทดสอบงานในกองถ่าย ลงพื้นที่เสี่ยงได้ แบกกล้องอึด !

สรุปข่าว

บริษัท ดับเบิลยูพีพี (WPP) ร่วมกับ บอสตันไดนามิกส์ และแคนนอน นำหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์รุ่น แอตลาส มาทดสอบเป็นตากล้องในกองถ่ายทำภาพยนตร์ โดยฝึกฝนด้วย AI จากเอ็นวิเดีย เพื่อเพิ่มความนิ่ง แม่นยำ และลดความเสี่ยงในสภาพแวดล้อมอันตราย รวมถึงลดภาระการแบกอุปกรณ์หนักของมนุษย์ ซึ่งการใช้หุ่นยนต์นี้ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อแทนที่ทีมงานมนุษย์ แต่เป็นอีกทางเลือกในการสร้างสรรค์มุมมองใหม่ ๆ และใช้ประโยชน์จากความสามารถในการเคลื่อนไหวที่เหนือกว่าของหุ่นยนต์แอตลาสที่ใช้ระบบมอเตอร์ไฟฟ้า

หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ หรือหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ ก้าวสู่วงการผลิตภาพยนตร์อย่างเต็มตัว เมื่อบริษัท ดับเบิลยูพีพี (WPP) บริษัทด้านการสื่อสารและการโฆษณาสัญชาติอังกฤษ เริ่มนำหุ่นยนต์ประเภทนี้ เข้ามาทดสอบการถ่ายทำคลิปวิดีโอต่าง ๆ เพื่อขยายขอบเขตของการผลิตเนื้อหา และปลดล็อกความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์ผลงานด้วยการใช้หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์

สรุปข่าว

บริษัท ดับเบิลยูพีพี (WPP) ร่วมกับ บอสตันไดนามิกส์ และแคนนอน นำหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์รุ่น แอตลาส มาทดสอบเป็นตากล้องในกองถ่ายทำภาพยนตร์ โดยฝึกฝนด้วย AI จากเอ็นวิเดีย เพื่อเพิ่มความนิ่ง แม่นยำ และลดความเสี่ยงในสภาพแวดล้อมอันตราย รวมถึงลดภาระการแบกอุปกรณ์หนักของมนุษย์ ซึ่งการใช้หุ่นยนต์นี้ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อแทนที่ทีมงานมนุษย์ แต่เป็นอีกทางเลือกในการสร้างสรรค์มุมมองใหม่ ๆ และใช้ประโยชน์จากความสามารถในการเคลื่อนไหวที่เหนือกว่าของหุ่นยนต์แอตลาสที่ใช้ระบบมอเตอร์ไฟฟ้า

โดยบริษัทได้จับมือกับบริษัทผู้พัฒนาหุ่นยนต์ชื่อดัง บอสตันไดนามิก (Boston Dynamics) และบริษัทผู้ผลิตกล้องระดับโลก แคนนอน (Cannon) นำเอาหุ่นยนต์มนุษย์รุ่น แอตลาส (Atlas) มาใช้ในการถ่ายถือกล้องถ่ายทำ ช่วยเพิ่มความนิ่ง ความแม่นยำที่ดีขึ้นในการจัดการกล้อง และป้องกันไม่ให้มนุษย์ต้องเข้าไปควบคุมกล้องในสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตราย


บริษัทได้ทำการฝึกฝนหุ่นยนต์แอตลาส (Atlas) ด้วยชุดโมเดลปัญญาประดิษฐ์จากบริษัทเอ็นวิเดีย (Nvidia) ซึ่งช่วยจำลองสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน เช่น ฉากในภาพยนตร์ และสร้างข้อมูลการฝึกที่สังเคราะห์ขึ้นอย่างสมจริง ทำให้หุ่นยนต์ฝึกการทำงาน ฝึกการควบคุมกล้องได้ดีขึ้น โดยใช้กล้องและเลนส์จากบริษัทแคนนอน (Canon) ทดลองงานจริงในกองถ่ายทำ


อย่างไรก็ตามแนวคิดในการใช้หุ่นยนต์มาทำหน้าที่ “ตากล้อง” นี้ ไม่ได้มีเพื่อมาแทนที่ทีมงานฝีมือที่เป็นมนุษย์แต่อย่างใด แต่เพื่อเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในการใช้งาน เพื่อการสร้างสรรค์มุมมองใหม่ ๆ คล้ายกับการใช้งานโดรนเพื่อขึ้นบินถ่ายภาพจากมุมต่าง ๆ ที่มนุษย์ยังเข้าไปไม่ถึงหรืออันตราย


หุ่นยนต์ยังมาช่วยลดความเสี่ยงด้านสุขภาพของตากล้องที่เป็นมนุษย์ เพราะจะช่วยลดภาระการต้องแบกอุปกรณ์กล้องหนัก ๆ เป็นเวลานาน โดยสามารถแบกของหนักได้มากถึง 20 กิโลกรัม แถมยังถือนิ่ง ๆ ได้แบบไม่ขยับตัวเพื่อคลายเมื่อยอีกด้วย

สำหรับหุ่นยนต์ แอตลาส (Atlas) เป็นการพัฒนาหุ่นยนต์ที่มีจุดเด่นคือการเปลี่ยนจากระบบไฮดรอลิก มาใช้ระบบมอเตอร์ไฟฟ้าที่น้ำหนักเบาแต่แข็งแรง และช่วยให้บริเวณข้อต่อต่าง ๆ ของหุ่นยนต์เคลื่อนไหวได้ดียิ่งขึ้น โดยสามารถแสดงท่าทาง ทำลายขีดจำกัดการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติของมนุษย์ เช่น การหมุนกลับด้านของแขน ขา และลำตัวในลักษณะ 180 องศา ทำให้มันสามารถรองรับการเคลื่อนไหวและการใช้งานได้หลากหลายขึ้น



แท็กบทความ

หุ่นยนต์
หุ่นยนต์ตากล้อง
หุ่นยนต์มนุษย์
Atlas
กองถ่าย
tnntech