"เอกนัฎ" ชี้ภารกิจแก้ปัญหาอุตสาหกรรมประเทศต้องเริ่มที่โครงสร้าง ยกตัวอย่างเหล็กไทยต้องได้คุณภาพ แข่งขันได้

บนเวทีเสวนา ทางรอดอุตสาหกรรมไทยในสมรภูมิรบการค้าโลก ภายในงาน “ภารกิจพลิกฟื้นเศรษฐกิจ: Mission Thailand” จัดโดย สถานีข่าว TNN นายเอกนัฎ พร้อมพันธุ์ รมว.อุตสาหกรรม ร่วมพูดคุยและตอบคำถามจากตัวแทนภาคเอกชน ดร.วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา นายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย ถึงแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านอุตสาหกรรมในประเทศไทย ในหลายประเด็น ทั้งการปราบปรามอุตสาหกรรมศูนย์เหรียญ และการปรับแผนโครงสร้างอุตสาหกรรมในประเทศไทย โดยยกตัวอย่าง อุตสาหกรรมเหล็กที่กำลังเป็นประเด็นสำคัญ
ประเด็นสำคัญ
- จุดอ่อนอุตสาหกรรมศูนย์เหรียญคือ ไม่มีคุณภาพ ราคาถูก และสร้างมลภาวะ
- ปฎิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมไทย ดึงความเชื่อมั่น
- อนาคตอุตสาหกรรมของประเทศไทยในยุคสงครามการค้า
สรุปข่าว
บนเวทีเสวนา ทางรอดอุตสาหกรรมไทยในสมรภูมิรบการค้าโลก ภายในงาน “ภารกิจพลิกฟื้นเศรษฐกิจ: Mission Thailand” จัดโดย สถานีข่าว TNN นายเอกนัฎ พร้อมพันธุ์ รมว.อุตสาหกรรม ร่วมพูดคุยและตอบคำถามจากตัวแทนภาคเอกชน ดร.วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา นายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย ถึงแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านอุตสาหกรรมในประเทศไทย ในหลายประเด็น ทั้งการปราบปรามอุตสาหกรรมศูนย์เหรียญ และการปรับแผนโครงสร้างอุตสาหกรรมในประเทศไทย โดยยกตัวอย่าง อุตสาหกรรมเหล็กที่กำลังเป็นประเด็นสำคัญ
ประเด็นสำคัญ
- จุดอ่อนอุตสาหกรรมศูนย์เหรียญคือ ไม่มีคุณภาพ ราคาถูก และสร้างมลภาวะ
- ปฎิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมไทย ดึงความเชื่อมั่น
- อนาคตอุตสาหกรรมของประเทศไทยในยุคสงครามการค้า
แนวทางการจัดการกับปัญหาอุตสาหกรรมศูนย์เหรียญ
รมว. เอกนัฎ กล่าวว่า เหตุการณ์ตึกถล่ม ถือเป็นสัญญาณที่สะท้อนถึงปัญหาอุตสาหกรรมศูนยเหรียญในไทยอย่างชัดเจน และมองว่าอุตสาหกรรมศูนย์เหรียญถือเป็นปัญหาที่กำลังกัดกินทำให้เศรษฐกิจไทยไม่เติบโต การปราบปรามถือเป็นภารกิจสำคัญของรัฐบาล โดยมองว่าจุดอ่อนของอุตสาหกรรมศูนย์เหรียญมี 2 เรื่องคือ ไม่มีคุณภาพจึงราคาถูก เช่น ล้อยาง สายไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ เมื่อประชาชนนำไปใช้งานทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยและเสี่ยงอันตราย การจัดการเรื่องนี้ทางกระทรวงได้ใช้แนวทางปูพรมปราบปรามอย่างเข้มงวดในช่วง 6-7 เดือนที่ผ่านมา
และอีกจุดอ่อนของอุตสาหกรรมศูนย์เหรียญ คือ การทำธุรกิจที่ไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และสร้างมลภาวะ เช่น การทิ้งขยะที่ไม่มีการจัดการอย่างถูกต้องจากอุตสาหกรรม สำหรับการจัดการเรื่องนี้ รัฐบาลได้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด
โดยดร.วิศิษฐ์กล่าวเสริมว่า เห็นด้วยกับการใช้กฎหมาย แต่ขอให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด และขอให้มีการสื่อสารกับประชาชนมากขึ้น เพื่อเน้นย้ำว่าสินค้าที่มีคุณภาพ ต้องมีราคาที่ไม่ถูกหรือต่างกันมากในประเภทเดียวกัน เนื่องจากต้นทุนของที่ต้องมีคุณภาพ
แนวคิดปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศไทย
นายเอกนัฎ มองว่าโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศไทยไม่ได้มีการปรับปรุงมาตรฐานและโครงสร้างมาอย่างยาวนาน จึงจำเป็นต้องมีการปฎิรูปโครงสร้าง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อภาคอุตสาหกรรม รักษาพื้นฐานอุตสาหกรรมไม่ให้กลายเป็นอุตสาหกรรมศูนย์เหรียญ
“ถ้าอุตสาหกรรมต้นน้ํามันกลายเป็นศูนย์เหรียญไป ก็เท่ากับตัวฐาน หรือตัวขาที่ค้ำระบบเศรษฐกิจของประเทศมันอ่อนแอ” นายเอกนัฎ พร้อมพันธ์ กล่าวตอนหนึ่งในงานเสวนา พร้อมสะท้อนว่าช่วงเวลานี้คือเวลาสำคัญในการป้องกันไม่ให้รากฐานอุตสาหกรรมของประเทศเสียหาย ทั้งอุตสาหกรรมเหล็ก พลาสติก เพื่อรักษาความเชื่อมั่นที่มีต่ออุตสาหกรรมไทยท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมทั่วโลก
อนาคตอุตสาหกรรมของประเทศไทยในยุคสงครามการค้า
นายเอกนัฏ มองว่าผลกระทบจากมาตรการษีนำเข้าแบบโต้ตอบ (Reciprocal tariff) ระหว่างสหรัฐฯ กับจีน กับประเทศไทยในระยะสั้นจะทำให้สินค้าจากจีนทะลักเข้ามายังประเทศไทย เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว กระทรวงอุตสาหกรรมจะเร่งตรวจสอบและกำกับให้สินค้าที่ถูกนำเข้า กับสินค้าในประเทศต้องแข่งในกติกาเดียวกัน เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก เป็นต้น
ในขณะที่ระยะกลาง ประเทศไทยต้องปรับตัว ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมให้ทันสมัยและลดการปล่อยมลภาวะ โดยยกตัวอย่างเป็นอุตสาหกรรมเหล็กอีกเช่นกันว่า ระบบการผลิตเหล็กแบบดั้งเดิม (Induction Furnace) นั้นมีมลภาวะสูง ควบคุมได้ยาก หลายประเทศจึงไม่อนุญาตให้มีการผลิตอีก เช่น จีน มาเลเซีย แต่ผลที่ตามมานั้นทำให้โรงงานในต่างประเทศกลับย้ายฐานการผลิตมาหลายพื้นที่ในอาเซียน รวมถึงที่ประเทศไทย
ด้วยเหตุนี้ ในอนาคตจะต้องมีการยุติการผลิตเหล็กด้วยเทคโนโลยีหลอมแบบ IF และหันไปใช้เทคนิคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการผลิตเหล็กจากเตาอาร์คไฟฟ้า หรือ EAF (Electric Arc Furnace) ซึ่งนายเอกนัฎเชื่อว่ามีกำลังการผลิตเพียงพอและพร้อมเปลี่ยนผ่าน เนื่องจากประเทศไทยมีกำลังการผลิตเหล็กในเตาแบบ EAF มากกว่า 4 ล้านตัน แต่ความต้องการเหล็กในประเทศไม่เกิน 3 ล้านตัน
ทั้งหมดนี้รมว. เอกรัฎเชื่อว่า จะทำให้อุตสาหกรรมในประเทศไทย มุ่งสู่สินค้าที่มีความต้องการในอนาคต เป็นสินค้าที่มีคุณภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ ทําให้คนไทยเก่งขึ้น ทําให้ธุรกิจไทยมีรายได้มากขึ้น เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไป