
ผู้นำยูเครน ยืนยัน สหรัฐ-ยูเครนใกล้ลงนามข้อตกลงแร่หายาก เป็นการตอบแทนที่สหรัฐฯ ได้ช่วยยูเครนด้านความมั่นคงและด้านการเงินในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งแท้จริงแล้ว ยูเครน คือ แหล่งสำรองแร่ธาตุเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญ
แหล่งแร่ธาตุหายากยูเครน ข้อมูล ณ ปี 2022 โดย UN
ยูเครนมีแหล่งแร่ธาตุหายากจำนวนมาก ในปี 2022 บริการข่าว UN ในภาษารัสเซียรายงานว่า แหล่งแร่ธาตุหายาก 21 ชนิด จากรายการสาร 30 ชนิด ที่สหภาพยุโรปกำหนดให้เป็น "วัตถุดิบสำคัญ" ของยูเครนคิดเป็นประมาณ 5% ของปริมาณสำรองของโลก ครอบคลุมพื้นผิวโลก 0.4%
วัตถุดิบเหล่านี้มีความสำคัญในการผลิตอุปกรณ์สำหรับการพัฒนาพลังงานสีเขียว ได้แก่
1.ลิเธียม
ลิเธียมเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) เนื่องจากสามารถจัดเก็บพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.โคบอลต์
โลหะสีน้ำเงินที่ช่วยให้แบตเตอรี่สามารถกักเก็บพลังงานได้จำนวนมาก รักษาอุณหภูมิให้คงที่ในอุณหภูมิที่หนาวจัดและร้อนจัด ซึ่งทำให้มีประโยชน์ในด้านอวกาศ การป้องกันประเทศ และการแพทย์ และเป็นองค์ประกอบสำคัญในเทคโนโลยีพลังงานสะอาดหลายๆ ชนิด
3. สแกนเดียม
เป็นธาตุที่พบได้น้อย ใช้ในการผลิตอุปกรณ์เกี่ยวกับแสงสว่าง เช่น หลอดไฟและหลอดไฟความสว่างสูง จึงต่อยอดได้ในทุกอุตสาหกรรม ไปจนถึงการบินและอวกาศ
4. กราไฟต์
ใช้ประโยชน์ใน การทำเป็นขั้วไฟฟ้า การทำเป็นผงเพื่อใช้ในงานอุตสาหหรรมผลิตแบตเตอร์รี่ และอุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์เบรกรถยนต์
5. แทนทาลัม
ธาตุที่มีคุณสมบัติทนต่อการกัดกร่อนของกรด และสารเคมีชนิดต่างๆ ใช้ทำเครื่องมือและอุปกรณ์ทางเคมี ซึ่งมีความต้านทาน
6. ไนโอเบียม
เป็นส่วนผสมที่สำคัญของเหล็กกล้า ที่มีความทนทานสูง ถูกใช้ในการผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินและยานอวกาศ และอุปกรณ์การแพทย์ เช่นเครื่อง MRI

สรุปข่าว
รายงานของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติของยูเครน ระบุว่า แหล่งสำรองของแร่ลิเธียมซึ่งมีความสำคัญมากต่อพลังงานหมุนเวียน มีจำนวนประมาณ 500,000 ตัน ในแหล่งสำรอง 2 แห่ง ได้แก่ Shevchenkivske (โดเนตสค์) และ Kruta Balka (Zaporiyia) ซาปอริสเซีย ซึ่งล้วนแต่ตั้งอยู่ในพื้นที่ขัดแย้ง
องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ประมาณการว่าการลงทุนในความต้องการพลังงานหมุนเวียนจะเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าเพื่อให้โลกบรรลุเป้าหมายการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050
คณะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่กูเตอร์เรสจัดประชุมในปี 2024 รายงานว่าการเปลี่ยนผ่านพลังงานจากแหล่งฟอสซิลไปสู่เทคโนโลยีสะอาดจะเพิ่มความต้องการทองแดง ลิเธียม นิกเกิล โคบอลต์ และวัสดุอื่นๆ เป็นสามเท่าภายในปี 2030
นอกจากนี้ คาดว่าในอีกสองทศวรรษข้างหน้า ความต้องการทองแดงและธาตุหายากจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ นิกเกิลและโคบอลต์เพิ่มขึ้น 60 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ และลิเธียมเพิ่มขึ้นเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์จำเป็นต้องเปิดดำเนินการเหมืองใหม่
ตามข้อมูลของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ จำเป็นต้องขยายการผลิตอย่างมากเพื่อตอบสนองความต้องการแร่ธาตุที่จำเป็นที่คาดการณ์ไว้ภายในปี 2030 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ทั่วโลกภายในปี 2030 จำเป็นต้องเปิดดำเนินการเหมืองลิเธียม 60 แห่ง นิกเกิล 60 แห่ง และโคบอลต์ 17 แห่ง
ที่มาข้อมูล : TNN
ที่มารูปภาพ : ทีมกราฟิก TNN