

สรุปข่าว
วันนี้ (3 ต.ค. 62) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงผลการหารือร่วมกับ นายเจมส์ แมคคอร์แม็ค กรรมการผู้จัดการและหัวหน้าฝ่ายประเมินความเสี่ยง ความน่าเชื่อถือระดับประเทศ และระหว่างประเทศ บริษัท ฟิทช์ เรตติ้ง ว่า ฟิทช์ เรตติ้ง ได้สอบถามข้อมูลเศรษฐกิจของไทยในหลายๆ ด้าน ทั้งหนี้ครัวเรือน หนี้สาธารณะ ค่าเงินบาท การส่งออก ก่อนนำข้อมูลทั้งหมดไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อจัดอันดับประเทศไทยในอีก 4-5 เดือนข้างหน้า โดย ฟิทช์ เรตติ้ง ยืนยันว่า เรื่องเศรษฐกิจจะดีหรือไม่ดี ไม่ใช่เป็นปัจจัยใหญ่ในการกำหนดว่าประเทศไทยจะได้รับการจัดอันดับ แต่หัวใจสำคัญอยู่ที่ปัจจัยเชิงโครงสร้างของประเทศ ว่ามีความเข้มแข็งมากน้อยเพียงใด ซึ่งโครงสร้างทางเศรษฐกิจไทยมีฐานะที่เข้มแข็ง แม้ว่าเป็นรัฐบาลผสม แต่ก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย โดยรัฐบาลมีคณะรัฐมนตรี (ครม.) เศรษฐกิจ ที่คอยกำกับดูแลนโยบายด้านเศรษฐกิจ ที่พรรคร่วมรัฐบาลต่างรู้และทำหน้าที่ได้ดี และได้ขับเคลื่อนนโยบายให้เดินหน้าให้ได้เร็วที่สุด
ทั้งนี้ ฟิทช์ฯได้สอบถามเรื่องหนี้ครัวเรือน ซึ่งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ยืนยันว่า ขณะนี้ต้องแยกเป็นหนี้ทางด้านอสังหาริมทรัพย์ มากถึง 33% อีก 18% เป็นสินเชื่อเพื่อทำธุรกิจ ขณะที่หนี้ส่วนบุคคลมีเพียง 10% และหนี้บัตรเครดิตมีเพียง 3% เท่านั้น ซึ่งหนี้อสังหาริมทรัพย์และหนี้ธุรกิจที่มีสัดส่วนมาก ถือว่าเป็นเรื่องดีเพราะถือเป็นสินทรัพย์ และหนี้ภาคธุรกิจถือเป็นสัดส่วนที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีต โดยถือว่าเป็นทิศทางที่ดี และเป็นนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการผลักดันให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น ดังนั้น จึงไม่สามารถที่จะนำหนี้ทั้งหมดมารวมกันแล้วบอกว่า เป็นหนี้ครัวเรือนที่นำไปใช้ในสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง
ทั้งนี้ ฟิทช์ฯได้สอบถามเรื่องหนี้ครัวเรือน ซึ่งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ยืนยันว่า ขณะนี้ต้องแยกเป็นหนี้ทางด้านอสังหาริมทรัพย์ มากถึง 33% อีก 18% เป็นสินเชื่อเพื่อทำธุรกิจ ขณะที่หนี้ส่วนบุคคลมีเพียง 10% และหนี้บัตรเครดิตมีเพียง 3% เท่านั้น ซึ่งหนี้อสังหาริมทรัพย์และหนี้ธุรกิจที่มีสัดส่วนมาก ถือว่าเป็นเรื่องดีเพราะถือเป็นสินทรัพย์ และหนี้ภาคธุรกิจถือเป็นสัดส่วนที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีต โดยถือว่าเป็นทิศทางที่ดี และเป็นนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการผลักดันให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น ดังนั้น จึงไม่สามารถที่จะนำหนี้ทั้งหมดมารวมกันแล้วบอกว่า เป็นหนี้ครัวเรือนที่นำไปใช้ในสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง
ขณะที่ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น เป็นเพราะโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และไทยสามารถบริหารจัดการค่าเงินได้ดีขึ้น นับตั้งแต่ปล่อยลอยตัวค่าเงินบาท ขณะที่หนี้สาธารณที่อยู่ในระดับ 40% เมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จึงถือว่าอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลัง
ด้าน นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ฟิทช์ ฯมองว่าประเทศไทย ยังมีศักยภาพอยู่มากแม้เศรษฐกิจโลกมีความท้าทายและมีความอ่อนไหวจากปัจจัยหลายด้าน ทำให้ไทยเป็นเพียงไม่กี่ประเทศที่ฟิทช์ฯปรับมุมมองการจัดอันดับของประเทศ จากระดับมีเสถียรภาพ (Stable outlook) เป็นเชิงบวก (Positive outlook) เมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา เพราะมองว่าประเทศไทยมีศักยภาพมาก หากเดินหน้าได้ตามยุทธศาสตร์ที่ตั้งไว้ ก็จะเป็นที่สนใจของนักธุรกิจในระดับโลก และคาดว่านักลงทุนต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand
ที่มาข้อมูล : -