“สัตหีบโมเดล” เร่งผลิตคนป้อน อีอีซี

“สัตหีบโมเดล” เร่งผลิตคนป้อน อีอีซี

สรุปข่าว

นางอรทัย โยธินรุ่งเรือง สุดสงวน ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ  เปิดเผยว่า ในปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ  จะเปิดสาขาใหม่เพิ่ม คือ เทคนิคพลังงาน ยานยนต์ไฟฟ้า และชิ้นส่วนอากาศยาน ซึ่งเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

ทั้งนี้ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ เกิดจากความร่วมมือระหว่าง ไทยกับออสเตรีย ทำหลักสูตรการเรียนการสอนตามมาตรฐานของออสเตรีย รวมทั้งได้สนับสนุนเครื่องจักรอุปกรณ์การเรียนการสอน   เป็นการจัดการเรียนการสอนลักษณะทวิภาคี หรือ การร่วมมือกับภาคเอกชนในการฝึกอบรมนักศึกษาให้ได้เรียนรู้จากการทำงานในสถานประกอบการจริง ซึ่งในจำนวนนี้จะเป็นนักศึกษาในรูปแบบ "สัตหีบโมเดล" 367 คน แบ่งเป็นระดับ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  189 คน และ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 178 คน

รูปแบบการศึกษาในรูปแบบสัตหีบโมเดล จะมีความเข้มข้นมากกว่าระบบทวิภาคี  เริ่มตั้งแต่ร่วมกับบริษัทที่ให้การสนับสนุนการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอน การคัดเลือกนักศึกษา  เพื่อให้เหมาะกับสถานประกอบการในประเภทต่างๆ  ล่าสุด บริษัท ซีเนียร์ แอโรสเปซ ผู้ผลิตชิ้นส่วนกลีบใบพัดเครื่องยนต์อากาศยาน และชิ้นส่วนปีกเครื่องบินจากประเทศอังกฤษ ได้เข้ามาร่วมจัดทำหลักสูตรเทคนิคการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานในระดับ ปวส. 

สำหรับวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาแบบ “สัตหีบโมเดล” คือสร้างบุคลากรที่ครบเครื่องทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และเมื่อเกิดเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี จึงได้ยกระดับ “สัตหีบโมเดล” ขึ้นเป็น  “อีอีซี โมเดล” ต้นแบบการศึกษาเพื่อผลิตแรงงานคุณภาพ  โดยปัจจุบัน วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ  เปิดสอนหลักสูตร 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า , อิเล็กทรอนิกส์ , แมคคาทรอนิกส์หุ่นยนต์ , ช่างซ่อมอากาศยาน , เทคนิคพลังงาน และระบบขนส่งทางราง


เกาะติดข่าวที่นี่ 
website: www.TNNThailand.com  
facebook : TNNThailand 
twitter : @TNNThailand 
Line : @TNNThailand 
Youtube Official : TNNThailand


ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ

วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ
สัตหีบโมเดล
ทวิภาคี
แรงงานคุณภาพ
อีอีซี