เอกชนห่วง 1 เดือนราคาอาหารพุ่ง จี้รัฐเร่งแก้ปัญหาโควิดระบาดโรงงาน

เอกชนห่วง 1 เดือนราคาอาหารพุ่ง จี้รัฐเร่งแก้ปัญหาโควิดระบาดโรงงาน

สรุปข่าว

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า  การระบาดของโควิด-19 ในโรงงาน เริ่มส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตและการบริโภคแล้ว โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหาร ได้มีโรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์หลายแห่งมีแรงงานติดเชื้อและถูกปิดไปบ้างแล้ว

ซึ่งคาดว่าในอีก 1 เดือนข้างหน้าจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค ทำให้ราคาสินค้าอาหารแพงขึ้น และมีปริมาณลดลง ยิ่งหากจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่อยู่ในระดับสูงกว่า 1.5 หมื่นต่อวัน และสูงขึ้นเรื่อย ๆ ต่อเนื่อง ก็จะยิ่งทำให้ประชาชนรู้สึกกังวลทำให้กักตุนสินค้าเพื่อกักตัวอยู่บ้านมากขึ้น ซึ่งจากทั้งปริ มาณการผลิตที่ลดลง และการกักตุนสินค้าของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ก็จะยิ่งทำให้สถานการณ์สินค้าอาหารรุนแรงมากขึ้น 

โดยทางออกของเรื่องนี้ โรงงานจะต้องจัดทำมาตรการ บับเบิลแอนด์ซีล หากโรงงานใดตรวจพบผู้ติดเชื้อเกิน 10% จะต้องจัดหาพื้นที่ในโรงงาน 10% เพื่อทำพื้นที่กักตัวแรงงานเหล่านี้ไว้ในโรงงาน ไม่ให้เข้าไปพบปะกับแรงงานที่ไม่ป่วย และบุคคลภายนอก 

ทั้งนี้จะทำให้แรงงานที่เหลือสามารถดำเนินการผลิตต่อไปได้โดยไม่ขาดช่วงแต่กำลังการผลิตก็จะลดลงบ้าง รวมทั้งแรงงานที่ติดโควิด-19 ก็จะไม่ออกไปข้างนอนทำให้ครอบครัว และชุมชนติดเชื้อเพิ่ม ซึ่งจะช่วยลดการระบาดลงได้มาก และโรงงานก็ยังคงผลิตต่อไปได้ ซึ่งหากทางผู้ว่าราชการจังหวัดใช้มาตรการปิดโรงงานอย่างเดียวก็จะส่งผลกระทบที่รุนแรงตามมา
 
“ในภาพรวมโรงงานผลิตอาหารเริ่มได้รับผลกระทบปิดโรงงานมากขึ้น ทำให้ผลผลิตเข้าสู่ตลาดลดลง ซึ่งหากภาครัฐออกมาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดขึ้น ก็จะยิ่งทำให้ประชาชนกักตุนมากขึ้น ก็จะยิ่งทำให้เกิดการขาดแคลนและราคาสูงขึ้น ดังนั้นภาครัฐจะต้องเข้ามาช่วยเหลือให้โรงงานต่าง ๆ จัดทำ บับเบิลแอนด์ซีล เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด และยังดำเนินการผลิตต่อไปได้”
 
 
นอกจากสินค้าอาหารแล้ว ในการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ภาคอุตสาหกรรมก็เริ่มได้รับผลกระทบ ซึ่งขณะนี้มีโรงงานผลิตชิ้นส่วน และโรงงานผลิตยางรถยนต์ เริ่มมีผู้ติดเชื้อ และปิดโรงงานไปบางส่วนแล้ว ซึ่งจะกระทบต่อยอดการผลิตรถยนต์ ที่เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ทำให้การส่งออกที่เป็นเครื่องจักรเศรษฐกิจที่เหลือเพียงตัวเดียวไม่สามารถเดินเครื่องได้เต็มที่ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในภาพรวมได้ 
 
นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และและประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์อาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต กล่าวว่า การระบาดของโควิด-19 ในโรงงานแปรรูปอาหาร ได้ส่งผลกระทบทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค โดยในส่วนของเกษตรกรขณะนี้มีช่องทางขายระบายสินค้าหลัก ๆ 2 ทาง คือ ทางตลาดค้าส่งขนาดใหญ่ เช่น ตลาดไทย และตลาดสี่มุมเมือง ก็มีการติดโควิดและถูกปิดไปแล้ว เหลือเพียงช่องทางผ่านโรงงานแปรรูปอาหาร หากช่องทางนี้ติดขัดเป็นคอขวด ก็จะทำให้เกษตรกรขาดสินค้าได้ยาก หากเป็นสินค้าสดก็ต้องปล่อยให้เน่าเสีย หากเป็นสัตว์ ก็ยังพอเสียงต่อไปได้ แต่ก็จะมีต้นทุนอาหารเพิ่มขึ้น ทำให้เกษตรกรจะเริ่มลดกำลังการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เพราะกังวลเรื่องช่องทางการขาย ทำให้ในอีก 3-4 เดือนจะเกิดการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตอาหาร และมีราคาสูงขึ้น 
 
ในส่วนของโรงงาน หากต้องปิดโรงงาน แม้เพียงชั่วคราว 14 วัน ก็ต้องชะลอการซื้อจากเกษตรกร ยิ่งโรงงานที่ทำคอนแทรกฟาร์มมิ่งกับเกษตรกร ก็ยิ่งได้ได้รับผลกระทบรุนแรงขึ้น รวมทั้งผลผลิตที่จะออกสู่ตลาดการบริโภคในประเทศ และการส่งออกก็จะลดลง ซึ่งขณะนี้สินค้าอาหารก็เริ่มมีราคาแพงขึ้น และคาดว่าในอีก 1 - 2 เดือน จะขาดแคลนและแพงขึ้น เพราะผู้นำหน่ายสินค้าอาหารจะมีสต็อกไม่เกิน 1 เดือน ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 2 สัปดาห์  
 
แนวทางออกในเรื่องนี้ โรงงานแปนรูปอาหารจะต้องใช้นำแผนการดำเนินธุรกิจต่อเนื่องในภาวะความเสี่ยงมาใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคทั้งในประเทศ และต่างประเทศมั่นใจในอุ๕ภาพอาหารและปลาศจากการติดเชื้อ รวมทั้งการนำมาตรการ บับเบิลแอนด์ซีล มาใช้ เพื่อให้โรงงานยังคงผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ลดปัญหาการขาดแคลนสินค้า
 
“ในการแก้ปัญหาการระบาดในคลัสเตอร์โรงงาน ไม่สามารถใช้เพียงมาตรการปิดโรงงานได้เพียงอย่างเดียว เพราะจะส่งผลกระทบตามมาอีกมาก ดังนั้นควรจะใช้ บับเบิลแอนด์ซีล เข้ามาใช้ในโรงงาน เพื่อให้เกษตรกรยังเหลือช่องทางการขายผ่านโรงงานได้ เพราะไม่เช่นนั้นจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรเป็นจำนวนมาก และปัญหาการขาดแคลนในอนาคต”
 
ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่จะกระทบต่อปริมาณผลผลิตอาหารภายในประเทศ จะกระทบต่อการส่งออก ซึ่งหากไทยส่งออกไปไม่ได้ สินค้าจากประเทศคู่แข่งก็จะเข้ามาทดแทน เหมือนในช่วงที่บราซิลมีปัญหาโรคระยาดในไก่ ทำให้ส่งออกไก่ไม่ได้และสินค้าไทยก็เข้าไปแยกตลาดส่งออกของบราซิล อย่างไรก็ตาม ปัญหาการระบาดของโควิด-19 ได้กระจายไปทั่วในประเทศผู้ผลิตอาหารสำคัญ อาจทำให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหารในตลาดโลกได้ในอนาคต

นอกจากนี้ รัฐบาลควรให้ความสำคัญในเรื่องนี้ ในการจัดหา rapid test เพื่อตรวจคัดแยกผู้ติดเชื้อในโรงงาน และเร่งฉีดวัคซีนในโรงงานให้ได้มากที่สุด เพราะหากภาคการผลิตนี้ต้องติดขัด ก็จะกระทบต่อผู้บริโภค และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอย่างรุนแรง

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ

โควิด
ราคาอาหารพุ่ง
ห่วงโซ่การผลิต
แปรูปเนื้อสัตว์
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล