พบ “โคเคน” ในฉลาม เพราะเหตุใด? ส่งผลอย่างไร?

พบ “โคเคน” ในฉลาม เพราะเหตุใด? ส่งผลอย่างไร?

สรุปข่าว

นักวิจัย แห่งมูลนิธิ Oswaldo Cruz ในริโอ เผยว่า พบโคเคนความเข้มข้นสูงในกล้ามเนื้อและตับของฉลามเหล่านี้ โดยเป็นเพศผู้ 3 ตัว และเพศเมียอีก 10 ตัว โดยมี 5 ตัวกำลังตั้งท้องอยู่

 

ฉลามเหล่านี้ ถุกจับได้โดยเรือประมงนอกชายฝั่ง ระหว่างปี 2021-2023 ที่ผ่านมา และตัวอย่างที่นำมาทดสอบ พบว่ามีสารโคเคนความเข้มข้นสูงกว่า 100 เท่า จากที่เคยรายงานการพบในสัตว์น้ำอื่น ๆ ก่อนหน้านี้

 

งานวิจัยพบว่า ระดับโคเคนในกล้ามเนื้อของฉลาม สูงกว่าในตับ ถึง 3 เท่า

 

·      ทำไมถึงเจอโคเคนในฉลามได้?

 

ก็เนื่องจากมีการใช้โคเคนในภูมิภาคมากขึ้น - ระบบระบายน้ำที่ไม่ดี ทำให้มีปริมาณโคเคนในทะเลสูงขึ้น ประกอบกับมีการลักลอบขนยาเสพติดทางทะเลหลายครั้ง  เช่น เมื่อเดือนมิถุนายน 2024 นี้ มีผู้พบโคเคนน้ำหนัก 30 กิโลกรัม ลอยอยู่ในทะเล ซึ่งมีมูลค่าในตลาดสูงถึงกว่า 35 ล้านบาท

 

รวมถึงบรรดากลุ่มลักลอบค้ายา ที่อาจทิ้งโคเคน หรือยาเสพติดอื่น ๆ ลงสู่ทะเล เพราะกังวลว่าอาจถูกหน่วยยามฝั่งจับได้

 

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2023 ตำรวจในนิวซีแลนด์ พบโคเคนน้ำหนักถึง 3.2 ตัน มูลค่ากว่า 300 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 1 พันล้านบาท ลอยอยู่กลางทะเล – ขณะที่เมื่อปี 2019 เจ้าหน้าที่สกัดเรือดำน้ำที่ขนโคเคน 3 ตัน มูลค่ากว่า 3,500 ล้านบาท นอกชายฝั่งสเปนด้วย

 

เคยมีการทดลองชนิดหนึ่ง โดย Hird และ Fanara ที่ทำการทิ้งก้อนโคเคนปลอม และห่อพลาสติกลงในทะเล เพื่อดูว่าฉลามจะเข้ามาถึงมันเป็นชนิดแรกหรือไม่ .. และก็เป็นเช่นนั้นจริง แต่ยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่ชัดเจน

 

·      โคเคน คือ “ยาชา” สำหรับฉลาม?.

และยังไม่ชัดเจนว่า โคเคน จะมีผลต่อร่างกายของฉลามอย่างไร เพราะยังคงมีการศึกษาเรื่องนี้ไม่มากนัก

 

ลอรา การ์เซีย บาร์เซีย นักวิทยาศาตร์ด้านชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยนานาชาติฟลอริดา กล่าวไว้ในรายการ When Sharks Attack and Why ของ National Geographic ปี 2023 ว่า “มีการศึกษาเพียงน้อยนิด แต่พบว่า โคเคนมีผลต่อปลาที่แตกต่างจากมนุษย์โดยสิ้นเชิง โดยมันออกฤทธิ์ประหนึ่ง ‘ยาชา’ ในปลา – แต่เป็น ‘สารกระตุ้น’ ในมนุษย์”

ขณะที่การศึกษาจาก Swiss Federal Institute of Aquatic Science and Technology และ Zurich University เมื่อปี 2016 ด้วยการให้โคเคนกับปลาม้าลาย ซึ่งไม่ได้มีผลกระตุ้น เหมือนที่มีผลต่อมนุษย์ – ซึ่งผลการวิจัยพบว่า โคเคนไปสะสมในดวงตาของปลาม้าลาย แทนที่จะสะสมในสมองเหมือนกับมนุษย์

 

·      ทดสอบให้โคเคนต่อปลาไหล

อย่างไรก็ตาม มนุษย์ยังไม่หยุดที่จะเรียนรู้ และนักชีววิทยา แห่ง University of Naples Federico II เคยทำการวิจัยในปี 2018 ที่นำปลาไหล ใส่ในน้ำที่มีโคเคนละลายอยู่นาน 50 วัน และพบว่า มันมีพฤติกรรมที่ไฮเปอร์กว่าปกติ

 

ทำให้กลุ่มนักสิ่งแวดล้อม และนักชีวิวิทยากังวลว่า การมีอยู่ของยาเสพติดในแม่น้ำ จะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของปลาบางชนิดได้

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :