พบสัญญาณสิ่งมีชีวิตไกลโลก 124 ปีแสง

นักวิทยาศาสตร์พบเบาะแสว่า ดาวเคราะห์  K2-18b ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าโลกเราประมาณ 2 เท่าครึ่ง และโคจรรอบดาวฤกษ์ดวงเล็กสีแดง ๆ โดยนักวิทยาศาสตร์จากเคมบริดจ์ ใช้กล้องโทรทรรศน์ James Webb ของนาซา ซึ่งเป็นกล้องที่ทรงพลังที่สุดในขณะนี้ มองแสงที่ลอดผ่านชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ดวงนั้น แล้วก็วิเคราะห์ว่าเจอสารเคมีอะไรในอากาศของดาวดวงนั้นบ้าง?

สิ่งที่พวกเขาพบ ก็คือเจอว่ามันมีสารเคมีอย่างน้อย 2 อย่าง ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต คือ ไดเมทิลซัลไฟด์ (DMS) และ ไดเมทิลไดซัลไฟด์ (DMDS) - ซึ่งบนโลกของเรา แก๊สทั้ง 2 นี้ผลิตขึ้นโดยแพลงก์ตอนพืชและแบคทีเรียในทะเล โดย ศ.นิกกุ มาดูซูดาน ผู้นำการวิจัย บอกว่า ตื่นเต้นมากที่พบแก๊สนี้บนชั้นบรรยากาศ และพบว่ามีปริมาณสูงกว่าค่าที่เราเจอบนโลกหลายพันเท่าเลยทีเดียว

ศ.มาดูซูดาน ยังบอกต่อว่า หากเรายืนยันว่า มีสิ่งมีชีวิตบนดาว K2-18b จริง ก็จะเป็นการยืนยันได้ว่ามี “สิ่งมีชีวิต” อยู่ในกาแลกซี่อื่น อย่างไรก็ตาม ทีมนักวิจัยยังคงย้ำว่า มันยังมีคำว่า “ถ้า” หรือ “แต่” อยู่หลายอย่าง

การค้บพบนี้แม่นยำราว 99.7% หรือในระดับ 3 ซิกมาตามมาตรฐานการวัดทางวิทยาศาสตร์ -  คือที่ดูเหมือนจะมาก แต่ยังไม่มากพอในการโน้มน้าวให้ชุมชนวิทยาศาสตร์เชื่อมั่นได้ - เพราะการจะประกาศว่า “ค้นพบอย่างเป็นทางการ” จะต้องแม่นยำถึงระดับ 99.99999% หรือระดับ 5 ซิกมา เลยทีเดียว

พบสัญญาณสิ่งมีชีวิตไกลโลก 124 ปีแสง

สรุปข่าว

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ “แก๊ส” ที่เป็นสัญญาณว่าอาจมี “สิ่งมีชีวิต” บนดาวเคราะห์ K2-18b ที่อยู่ห่างจากโลก 124 ปีแสง

อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยย้ำว่า “นี่ยังไม่ใช่การค้นพบสิ่งมีชีวิตต่างดาว” แต่เป็น “ลายเซ็นทางเคมี” หรือ biosignature ที่อาจเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางชีวภาพ อีกสิ่งที่ต้องค้นหาคำตอบให้ได้คือ “แก๊ส” DMS / DMDS ที่พบนั้น มีต้นตอมาจากไหน? 

 นักดาราศาสตร์หลายคนเตือนว่า แม้จะเจอแก๊สแบบนี้ก็ไม่ได้แปลว่าเกิดจากสิ่งมีชีวิตเสมอไป เพราะในจักรวาลอาจมีวิธีแปลก ๆ ที่ทำให้แก๊สนี้เกิดขึ้นโดยไม่มีชีวิตเลยก็ได้ โดยตอนนี้ทีมวิจัยกำลังพยายามพิสูจน์ว่า แก๊สพวกนี้จะเกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติโดยไม่มีชีวิตได้หรือไม่

ที่มาข้อมูล : Reuters

ที่มารูปภาพ : Reuters