
นางสาวนลิน ฉัตรโชติธรรม นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า ซิตี้แบงก์ คาดว่ GDP ของประเทศไทยปี 2568 จะเติบโตที่ร้อยละ 3.2 เพิ่มจากร้อยละ 2.7 ในปี 2567 โดยมีปัจจัยหนุนจากการบริโภคภาคเอกชนที่ยังเติบโตได้ แม้จะชะลอลงจากปัญหาหนี้ครัวเรือน แต่การจ้างงานที่แข็งแกร่ง และมีการปรับขึ้นค่าแรงก็ช่วยพยุงกำลังซื้อได้ บวกกับมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐช่วยเสริม และรัฐน่าจะมีการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2568 เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากงบประมาณค้างจ่ายในปีงบประมาณ 2567
ขณะที่ ภาคการท่องเที่ยวยังเติบโตต่อเนื่องปีนี้คาดจํานวนนักท่องเที่ยวจะอยู่ที่ราว 39.8 ล้านคน ซึ่่งค่าใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวอาจเพิ่มเป็น 44,000 บาท ทำให้คาดว่ารายได้การท่องเที่ยวไทยปีนี้จะอยู่ที่ราวร้อยละ 9.3 ของ GDP
ส่วนภาคการส่งออกคาดว่าจะเติบโตลดลง อยู่ที่ประมาณร้อยละ 3 จากสถานการณ์การค้าโลกชะลอตัว และความไม่แน่นอนในการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐ ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดปีนี้คาดจะเป็นบวกที่ร้อยละ 2.7 ของ GDP จากต้นทุนการนําเข้าน้ำมันลดลง และการท่องเที่ยวที่เติบโตต่อเนื่อง ช่วยสนับสนุนค่าเงินบาทได้ในระดับหนึ่งท่ามกลางความผันผวนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนจากดอลลาร์ที่อยู่ในทิศทางแข็งค่า
โดยในไตรมาสแรกปีนี้คาดเงินบาทจะอยู่ระดับ 35.60 บาท/ดอลลาร์ ก่อนที่ไตรมาส 4 ปีนี้จะแข็งค่าขึ้นมาที่ 34.90 บาท/ดอลลาร์ ส่วนดอกเบี้ยคาดว่าแบงก์ชาติจะคงดอกเบี้ยระดับร้อยละ 2.25 ไปตลอดจนถึงปี 2569 แต่มีโอกาสลด 1 ครั้งที่ร้อยละ 0.25 ในครึ่งแรกของปีนี้ หากเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวตามคาดการณ์

สรุปข่าว
ด้านนางสาวโจฮันน่า ฉัว หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และตลาดเอเชียแปซิฟิก ธนาคารซิตี้แบงก์ บอกว่า ภาพรวมเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้นาจะเติบโตลดลงมาอยู่ระดับ ร้อยละ 4.3 จากร้อยละ 4.8 ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ส่วนนโยบายการขึ้นภาษีของทรัมป์มองว่า ภาษี tariff น่าจะปรับขึ้นเฉลี่ยราวร้อยละ 15 ขึ้นกับประเภทสินค้าวาจะจำเป็นต่อสหรัฐแค่ไหน กลังทรัมป์ ให้ความสำคัญกับเงินเฟ้อและผลกระทบต่อคนอเมริกันมากขึ้น ยกเว้นจีนที่อาจถูกปรับขึ้นมากกว่า โดยคาดผลกระทบกับไทยจะไม่รุนแรง เพราะไทยจะได้ทั้งผลบวกจากการย้านฐานจากจีน แต่สินค้าจีนอาจเข้ามาขายในเอเชียมากขึ้น
ที่มาข้อมูล : ธนาคารซิตี้แบงก์
ที่มารูปภาพ : ถ่ายเอง