กระเจียวบัวลายอุบล พรรณไม้หายากในธรรมชาติ จากอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ

กระเจียวบัวลายอุบล พรรณไม้หายากในธรรมชาติ จากอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ

สรุปข่าว

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชเผยแพร่ภาพ ดอกกระเจียวบัวลายอุบล หรือ บัวโกเมน,แววอุบล (Sirirugsa and Newman) เป็นพันธุ์หายากสำรวจพบในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ จ.อุบลราชธานี ซึ้งก็มีอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะในปัจจุบันหาพบดอกไม้ชนิดนี้ได้ยากแล้วในธรรมชาติ


ลักษณะของ กระเจียวบัวลายอุบล จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีเหง้าอยู่ในใต้ดิน สูง 15-30 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบ มีดอกสีม่วงปนขาว เรียงซ้อนกันสวยงาม สามารถนำมาเป็นไม้ดอกไม้ประดับได้ และจะออกดอกในฤดูฝน ช่วงตั่งแต่เดือน มิ.ย.-ส.ค.นี้ โดยมักแพร่กระจายอยู่ในพื้นที่ป่าเบญจพรรณ ป่าโป่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและลาว 


กระเจียวบัวลายอุบล พรรณไม้หายากในธรรมชาติ จากอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ


กระเจียวบัวลายอุบล พรรณไม้หายากในธรรมชาติ จากอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ


ที่มา: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช



_____

ติดตามข่าวสภาพอากาศ และเช็กจุดฝนตก น้ำท่วม ถนนรถติด ผ่าน TNN EARTH

Website : https://bit.ly/3MXvq5I 

Youtube : https://bit.ly/3MZUVmK

TikTok : https://bit.ly/3naJL4p

Facebook : https://bit.ly/3bxVMy0

Line : https://lin.ee/rPHmFpD

Instagram: https://bit.ly/3PDLpuJ

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ

tnnearth
กระเจียวบัวลายอุบล
ดอกกระเจียว
อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ
อุบลราชธานี