สเปน-โปรตุเกสไฟดับ แค่ “สภาพอากาศเปลี่ยน” หรือมีอะไรมากกว่านั้น?

สเปน-โปรตุเกสไฟดับ แค่ “สภาพอากาศเปลี่ยน” หรือมีอะไรมากกว่านั้น?

สถานการณ์ไฟฟ้าดับครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบไปทั่วทั้งสเปนและโปรตุเกสในช่วงวันจันทร์ที่ผ่านมา กลายเป็นเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของคาบสมุทรไอบีเรีย ล่าสุดระบบไฟฟ้าเริ่มกลับมาใช้งานได้ตามปกติในหลายพื้นที่แล้ว ขณะที่หน่วยงานภาครัฐและบริษัทพลังงานยังคงเร่งสอบสวนหาสาเหตุที่แท้จริง

กระทรวงมหาดไทยของสเปนได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน พร้อมระดมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนกว่า 30,000 นายทั่วประเทศ เพื่อดูแลความเรียบร้อย ท่ามกลางความตื่นตระหนกของประชาชนที่เผชิญกับไฟดับในหลายเมืองใหญ่ รวมถึงกรุงมาดริด เซบียา และบาร์เซโลนา


นายกรัฐมนตรีสเปนปฏิเสธปัญหาพลังงานหมุนเวียน

“เปโดร ซานเชซ” นายกรัฐมนตรีของสเปน ยืนยันว่า ไฟดับครั้งใหญ่นี้ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานหมุนเวียนเกินกำลัง โดยระบุว่าเจ้าหน้าที่เทคนิคยังคงตรวจสอบสาเหตุอย่างละเอียด และผลสอบสวนจะถูกนำมาใช้เพื่อเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในอนาคต

แม้บริษัทผู้ดำเนินการระบบไฟฟ้าอย่าง REE (Red Eléctrica de España) จะปฏิเสธว่ามีการโจมตีทางไซเบอร์ แต่นายกรัฐมนตรีซานเชซเปิดเผยว่า สำนักงานความมั่นคงไซเบอร์ของประเทศยังคงสอบสวนประเด็นนี้แยกต่างหาก ขณะเดียวกัน ศาลสูงของสเปนก็ประกาศเริ่มการสอบสวนว่าระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานอาจตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มก่อการร้ายหรือไม่

สรุปข่าว

เหตุการณ์ไฟฟ้าดับครั้งใหญ่ ครอบคลุมทั้งสเปนและโปรตุเกส ทำให้ระบบขนส่ง สัญญาณไฟจราจร และบริการพื้นฐานหยุดชะงักทั่วทั้งคาบสมุทรไอบีเรีย เบื้องต้นมีการตั้งข้อสันนิษฐานทั้งปัจจัยทางเทคนิค ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ไปจนถึงความเป็นไปได้ของการโจมตีทางไซเบอร์ แต่ยังไม่มีบทสรุปชัดเจน ขณะที่ทั้งสองประเทศเร่งฟื้นฟูระบบ และทบทวนมาตรการเพื่อป้องกันเหตุซ้ำ

สถานการณ์ไฟฟ้าดับครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบไปทั่วทั้งสเปนและโปรตุเกสในช่วงวันจันทร์ที่ผ่านมา กลายเป็นเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของคาบสมุทรไอบีเรีย ล่าสุดระบบไฟฟ้าเริ่มกลับมาใช้งานได้ตามปกติในหลายพื้นที่แล้ว ขณะที่หน่วยงานภาครัฐและบริษัทพลังงานยังคงเร่งสอบสวนหาสาเหตุที่แท้จริง

กระทรวงมหาดไทยของสเปนได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน พร้อมระดมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนกว่า 30,000 นายทั่วประเทศ เพื่อดูแลความเรียบร้อย ท่ามกลางความตื่นตระหนกของประชาชนที่เผชิญกับไฟดับในหลายเมืองใหญ่ รวมถึงกรุงมาดริด เซบียา และบาร์เซโลนา


นายกรัฐมนตรีสเปนปฏิเสธปัญหาพลังงานหมุนเวียน

“เปโดร ซานเชซ” นายกรัฐมนตรีของสเปน ยืนยันว่า ไฟดับครั้งใหญ่นี้ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานหมุนเวียนเกินกำลัง โดยระบุว่าเจ้าหน้าที่เทคนิคยังคงตรวจสอบสาเหตุอย่างละเอียด และผลสอบสวนจะถูกนำมาใช้เพื่อเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในอนาคต

แม้บริษัทผู้ดำเนินการระบบไฟฟ้าอย่าง REE (Red Eléctrica de España) จะปฏิเสธว่ามีการโจมตีทางไซเบอร์ แต่นายกรัฐมนตรีซานเชซเปิดเผยว่า สำนักงานความมั่นคงไซเบอร์ของประเทศยังคงสอบสวนประเด็นนี้แยกต่างหาก ขณะเดียวกัน ศาลสูงของสเปนก็ประกาศเริ่มการสอบสวนว่าระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานอาจตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มก่อการร้ายหรือไม่

REN ชี้ "การสั่นสะเทือนจากชั้นบรรยากาศ" เป็นปัจจัยหลัก

ด้านบริษัท REN ซึ่งดูแลระบบไฟฟ้าของโปรตุเกส ชี้แจงเบื้องต้นว่า สาเหตุของเหตุไฟดับวงกว้างอาจเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ทางอากาศที่หายากโดยระบุว่าเกิด “การสั่นสะเทือนที่ถูกเหนี่ยวนำจากชั้นบรรยากาศ” (induced atmospheric vibration) ซึ่งมีต้นตอมาจากความแตกต่างของอุณหภูมิอย่างรุนแรงระหว่างพื้นที่ ส่งผลให้สายไฟฟ้าแรงสูงขนาด 400 กิโลโวลต์เกิดการแกว่งตัวผิดปกติจนกระทบต่อความเสถียรของระบบไฟฟ้าโดยรวม


สำหรับปรากฏการณ์ "Induced atmospheric vibration" คือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีความแตกต่างของอุณหภูมิในบรรยากาศอย่างมากในช่วงเวลาสั้น ๆ เช่น อากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ขณะที่อีกพื้นที่หนึ่งเย็นจัด ความแตกต่างนี้จะทำให้มวลอากาศเคลื่อนที่และสร้างแรงสั่นสะเทือนที่ส่งผลถึงสายส่งไฟฟ้าโดยตรง โดยปกติแล้วสายไฟฟ้าแรงสูงสามารถรองรับการสั่นสะเทือนได้ในระดับหนึ่ง แต่หากแรงสั่นสะเทือนมีความผิดปกติสูงจะส่งผลให้ระบบสูญเสียเสถียรภาพ เกิดปัญหาซิงโครไนซ์ไม่ตรงกันระหว่างแหล่งผลิตไฟฟ้า และนำไปสู่การตัดการเชื่อมต่อเป็นลูกโซ่ทั่วทั้งเครือข่าย ด้าน “ทาโก แองเกลาร์” ผู้บริหารบริษัท Neara ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์สำหรับธุรกิพลังงาน กล่าวว่า “เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ทำให้พารามิเตอร์ของตัวนำไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้เกิดความไม่สมดุลในความถี่ของระบบไฟฟ้าได้”


“จอร์จ แซคแมน” นักวิจัยอาวุโสจากสถาบัน Bruegel เสริมว่า การลดลงของความถี่ไฟฟ้าในเครือข่ายต่ำกว่ามาตรฐาน 50Hz ทำให้โรงไฟฟ้าหลายแห่งตัดตัวเองออกจากระบบเพื่อป้องกันความเสียหาย ส่งผลให้เกิดไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง


ผลกระทบในชีวิตประจำวันและการฟื้นฟู

ประชาชนจำนวนมากในภาคใต้ของประเทศต้องใช้เทียนไขเพื่อความสว่างในช่วงที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ โดยเฉพาะในเมืองท่องเที่ยวชื่อดังอย่าง “รอนดา” ขณะที่สัญญาณไฟจราจร ระบบขนส่งมวลชนทั้งรถไฟโดยสารและรถไฟใต้ดิน เริ่มกลับมาให้บริการได้ตั้งแต่วันอังคารที่ผ่านมา โรงเรียนหลายแห่งกลับมาเปิดเรียนตามปกติ แต่ยังมีประชาชนบางส่วนที่ต้องเผชิญกับความล่าช้าในการกลับไปทำงาน เนื่องจากติดอยู่ในลิฟต์และไม่สามารถติดต่อครอบครัวได้รายงานจาก REE ระบุว่า ความต้องการไฟฟ้าทั่วประเทศลดลงถึง 60% ภายในเวลาเพียง 5 วินาทีในช่วงเที่ยงวันของวันจันทร์ ซึ่งเป็นผลมาจากการสูญเสียกำลังการผลิตอย่างฉับพลันทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ

การเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าระหว่างประเทศอาจเป็นทางออก

“เอ็ดดูอาร์โด ปรีเอโต” หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการของ REE แถลงว่า เหตุไฟดับครั้งนี้อาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ แต่ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปสาเหตุแน่ชัด พร้อมยืนยันว่าระบบไฟฟ้าของประเทศกลับมามีเสถียรภาพแล้วนอกจากนี้ เขายังกล่าวถึงความจำเป็นในการเพิ่มการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าระหว่างสเปนและฝรั่งเศส โดยเฉพาะผ่านอ่าวบิสเคย์ ซึ่งจะช่วยให้ระบบมีความมั่นคงและยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้นในอนาคต


โปรตุเกสได้รับผลกระทบตามหลัง แต่อาการเริ่มคลี่คลาย

ด้านนายกรัฐมนตรี “หลุยส์ มอนเตเนโกร” ของโปรตุเกส ยืนยันว่า เหตุไฟดับที่เกิดขึ้นในประเทศของเขาไม่ได้เป็นผลจากการโจมตีไซเบอร์ แม้ว่าจะมีข้อสงสัยเกิดขึ้นในสังคมก็ตาม โดยบริษัทผู้ให้บริการไฟฟ้าในโปรตุเกสยังไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้ว่า สาเหตุอาจมาจากแรงดันไฟฟ้าในระบบของสเปนที่แกว่งตัวอย่างรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อประเทศเพื่อนบ้าน

ขณะนี้กรุงลิสบอนและหลายเมืองใหญ่ในโปรตุเกสเริ่มกลับสู่ภาวะปกติแล้ว โรงเรียน โรงพยาบาล และบริการขนส่งสาธารณะกลับมาให้บริการได้อีกครั้ง หลังเผชิญเหตุการณ์ไฟดับครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ

แม้ระบบไฟฟ้าจะกลับมาใช้งานได้เกือบทั้งหมดแล้ว แต่จนถึงขณะนี้ รัฐบาลทั้งสองประเทศยังไม่ได้ให้คำอธิบายชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้น และจะมีมาตรการใดในการป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นอีกในอนาคต

ที่มาข้อมูล : Reuters

ที่มารูปภาพ : Reuters