
นพ.เจษฎา ทองเถาว์ แพทย์เฉพาะทางสาขาจิตเวชศาสตร์ จิตแพทย์ประจำ รพ.พระศรีมหาโพธิ์ จ.อุบลราชธานี ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "คลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา" เกี่ยวกับคำถาม เป็นโรคกลัวการกระพริบตา รักษาได้ไหม? โดยระบุว่า
“ผมกลัวการกระพริบตา ทุกครั้งที่รู้สึกถึงมัน ผมจะหมกมุ่นจนหยุดคิดเรื่องอื่นไม่ได้เลย” เป็นประโยคที่หมอเคยได้ยินจากคนไข้ที่มีอาการ OCD (Obsessive-Compulsive Disorder) รูปแบบหนึ่ง ที่เรียกว่า Somatic OCD ซึ่งเป็นอาการที่หลายคนอาจไม่รู้จักและเข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่สำหรับคนที่เผชิญกับมัน...มันคือเสียงในหัวที่ดังไม่หยุด และรู้สึกเหมือนหลุดออกจากชีวิตปกติไม่ได้เลย
เข้าใจ Somatic OCD (OCD) รูปแบบนี้ไม่ได้หมกมุ่นกับความสะอาดหรือตัวเลข แต่หมกมุ่นกับการรับรู้ร่างกายของตัวเอง เช่น
- การกระพริบตา
- การหายใจ
- การกลืนน้ำลาย
คนไข้มักติดอยู่กับความคิดว่า “ทำไมเรารู้สึกถึงสิ่งนี้ตลอดเวลา?” จนเกิดความกลัวว่า “มันจะอยู่กับเราตลอดไป”
สรุปข่าว
นพ.เจษฎา ทองเถาว์ แพทย์เฉพาะทางสาขาจิตเวชศาสตร์ จิตแพทย์ประจำ รพ.พระศรีมหาโพธิ์ จ.อุบลราชธานี ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "คลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา" เกี่ยวกับคำถาม เป็นโรคกลัวการกระพริบตา รักษาได้ไหม? โดยระบุว่า
“ผมกลัวการกระพริบตา ทุกครั้งที่รู้สึกถึงมัน ผมจะหมกมุ่นจนหยุดคิดเรื่องอื่นไม่ได้เลย” เป็นประโยคที่หมอเคยได้ยินจากคนไข้ที่มีอาการ OCD (Obsessive-Compulsive Disorder) รูปแบบหนึ่ง ที่เรียกว่า Somatic OCD ซึ่งเป็นอาการที่หลายคนอาจไม่รู้จักและเข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่สำหรับคนที่เผชิญกับมัน...มันคือเสียงในหัวที่ดังไม่หยุด และรู้สึกเหมือนหลุดออกจากชีวิตปกติไม่ได้เลย
เข้าใจ Somatic OCD (OCD) รูปแบบนี้ไม่ได้หมกมุ่นกับความสะอาดหรือตัวเลข แต่หมกมุ่นกับการรับรู้ร่างกายของตัวเอง เช่น
- การกระพริบตา
- การหายใจ
- การกลืนน้ำลาย
คนไข้มักติดอยู่กับความคิดว่า “ทำไมเรารู้สึกถึงสิ่งนี้ตลอดเวลา?” จนเกิดความกลัวว่า “มันจะอยู่กับเราตลอดไป”
กลไกเบื้องหลังความกลัวการกระพริบตา
คนทั่วไปกระพริบตาประมาณ 15–20 ครั้งต่อนาที โดยไม่รู้สึกอะไรเลย
แต่เมื่อเราคอยเฝ้าสังเกตมันมากเกินไป สมองจะนำความรู้สึกนั้นเข้าสู่โฟกัสแบบควบคุมไม่ได้ ทำให้ติดอยู่กับความคิดแบบ loop และปล่อยวางไม่ได้ง่าย
วิธีรับมือเบื้องต้น (ที่ใช้ได้จริง)
1. เข้าใจว่า“ความกลัวนี้ไม่ใช่ความผิดของเรา” อาการนี้ไม่ได้แปลว่าเราแปลก แต่คือการตอบสนองของสมองที่ไวเกินไป ซึ่งสามารถรักษาได้
2. หลีกเลี่ยงการตรวจสอบหรือรีเซ็ตการกระพริบตาซ้ำๆ
ยิ่งเราพยายามควบคุมการกระพริบตาให้รู้สึกถูกต้องหรือเท่ากันเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้อาการฝังแน่น ควรหัดปล่อยให้มันเกิดโดยไม่ตอบสนอง
3. ใช้เทคนิค Exposure and Response Prevention (ERP) เป็นวิธีการรักษาหลักของOCD โดยค่อยๆ ให้สมองสัมผัสกับความรู้สึกไม่สบาย และฝึกไม่ตอบสนองบ้าง เช่น ลองอยู่ในที่ๆต้องใช้สายตาแต่ไม่พยายามหยุดการกระพริบ ฝึกวันละเล็กๆ จนสมองเรียนรู้ว่า “ความรู้สึกไม่สบายนี้ไม่ได้อันตราย”
4. ฝึก Mindfulness + Grounding เช่น หายใจลึกๆ แล้วจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า เช่น เสียงนกร้อง ลมที่พัดผ่าน จะช่วยลดการจมกับความคิดรบกวน
5. รักษาด้วยยาหรือ CBT หากอาการรบกวนการใช้ชีวิต : ยาในกลุ่ม SSRIs เช่น Fluoxetine หรือ Sertraline ร่วมกับการทำ CBT ช่วยลดอาการหมกมุ่นได้ดีในผู้ป่วย OCD
เรื่องเล่าจากห้องตรวจ
มีน้องวัยมัธยมคนหนึ่งที่มาหาหมอด้วยอาการ “กลัวการหายใจ” ในช่วงสอบ
เขาบอกว่า “หนูรู้สึกว่าการหายใจมันชัดเกินไป จนหนูรู้สึกแปลก เหมือนมันไม่ใช่ของหนู” แต่หลังจากได้ทำ CBT ร่วมกับการหัดอยู่กับความรู้สึกนั้นแบบไม่หนี เขากลับมาทำกิจกรรมได้ปกติ และสอบผ่านอย่างไม่น่าเชื่อ
หมอถามเขาว่า “อะไรที่ช่วยได้มากที่สุด?”
เขาตอบว่า “แค่รู้ว่ามันเป็นอาการที่มีชื่อเรียก หนูก็สบายใจขึ้นเยอะแล้วครับ”