
นพ.เจษฎา ทองเถาว์ แพทย์เฉพาะทางสาขาจิตเวชศาสตร์ จิตแพทย์ประจำ รพ.พระศรีมหาโพธิ์ จ.อุบลราชธานี ได้โพสต์ข้อึความลงบนเฟซบุ๊ก "คลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา" เกี่ยวกับจิตวิทยาการใจดีกับตัวเอง โดยระบุว่า
มีวันหนึ่ง คนไข้ท่านหนึ่งเล่าเรื่องการสัมภาษณ์งานที่เธอผิดพลาดจนจิตตก เธอกลับบ้านมาร้องไห้และเริ่มพูดกับตัวเองว่า
“ก็สมควรแล้วนี่ ทำไมโง่แบบนี้”
หมอจึงลองถามไปว่า “ถ้าคนที่คุณรักผิดหวังเรื่องเดียวกันกับคุณในวันนี้ คุณจะพูดกับเขาแบบนี้ไหม?”
เธอนิ่งไปนาน...แล้วตอบว่า “ไม่ค่ะ หนูจะกอดเขาก่อน”
และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่จะกอดตัวเองให้เป็น
หลายคนเติบโตมากับเสียงในใจที่มักคอยตำหนิว่าตนเอง
“ฉันยังไม่พอ”
“ทำไมฉันถึงพลาดอีกแล้ว”
“คนอื่นเขาทำได้ ทำไมเราไม่ได้”
แต่ในอีกมุมหนึ่งของจิตใจ มันมีสิ่งหนึ่งที่ทรงพลังและเยียวยาเราได้ นั่นคือ ความสามารถในการ“ใจดีกับตัวเอง” หรือที่ในทางจิตวิทยาเรียกว่า Self-Compassion
สรุปข่าว
นพ.เจษฎา ทองเถาว์ แพทย์เฉพาะทางสาขาจิตเวชศาสตร์ จิตแพทย์ประจำ รพ.พระศรีมหาโพธิ์ จ.อุบลราชธานี ได้โพสต์ข้อึความลงบนเฟซบุ๊ก "คลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา" เกี่ยวกับจิตวิทยาการใจดีกับตัวเอง โดยระบุว่า
มีวันหนึ่ง คนไข้ท่านหนึ่งเล่าเรื่องการสัมภาษณ์งานที่เธอผิดพลาดจนจิตตก เธอกลับบ้านมาร้องไห้และเริ่มพูดกับตัวเองว่า
“ก็สมควรแล้วนี่ ทำไมโง่แบบนี้”
หมอจึงลองถามไปว่า “ถ้าคนที่คุณรักผิดหวังเรื่องเดียวกันกับคุณในวันนี้ คุณจะพูดกับเขาแบบนี้ไหม?”
เธอนิ่งไปนาน...แล้วตอบว่า “ไม่ค่ะ หนูจะกอดเขาก่อน”
และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่จะกอดตัวเองให้เป็น
หลายคนเติบโตมากับเสียงในใจที่มักคอยตำหนิว่าตนเอง
“ฉันยังไม่พอ”
“ทำไมฉันถึงพลาดอีกแล้ว”
“คนอื่นเขาทำได้ ทำไมเราไม่ได้”
แต่ในอีกมุมหนึ่งของจิตใจ มันมีสิ่งหนึ่งที่ทรงพลังและเยียวยาเราได้ นั่นคือ ความสามารถในการ“ใจดีกับตัวเอง” หรือที่ในทางจิตวิทยาเรียกว่า Self-Compassion
Self-Compassion คืออะไร?
Self-Compassion คือ ความสามารถในการมองตัวเองอย่างเข้าใจ ไม่ตัดสินตัวเองรุนแรงเกินไป เมื่อทำพลาด โดยองค์ประกอบหลักมี 3 อย่าง
- ความเมตตาต่อตัวเอง (Self-Kindness)
- การยอมรับความเป็นมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์แบบ (Common Humanity)
- การรู้เท่าทันอารมณ์ (Mindfulness)
การใจดีกับตัวเองไม่ใช่ความอ่อนแอ แต่คือความกล้าระดับสูงที่คนเข้มแข็งจริงๆเท่านั้นจะทำได้ และบางครั้ง เสียงที่อ่อนโยนที่สุด ไม่ได้มาจากคนอื่น แต่มาจากตัวเราเองในวันที่ใจอ่อนล้า
งานวิจัยพบว่าคนที่ฝึกใจดีกับตัวเอง มีแนวโน้มเครียดน้อยลง 30% และฟื้นตัวจากอารมณ์ลบไวขึ้นถึง 2.5 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ตำหนิตัวเองซ้ำๆ
คนที่มี Self-Criticism สูง (พูดกับตัวเองรุนแรง) มีแนวโน้มเกิดภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และ Self-Esteem ต่ำ ในขณะที่คนที่พูดกับตัวเองเหมือนที่พูดกับคนที่รัก มีแนวโน้มเห็นคุณค่าในตัวเองและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างมากขึ้น