
ครั้งแรกของประเทศไทยกับภารกิจนำเครื่องบินรบกริพเพน (JAS 39 Gripen) ขึ้นบิน และ ลงจอดที่บนถนนหลวงหมายเลข 4287 ถนนเพชรเกษมสายเก่า จ.สงขลา ที่มีความกว้างเพียง 20 เมตรถือเป็นการแสดงขีดความสามารถของเครื่องบินรบทัพฟ้าไทยครั้งประวัติศาสตร์
ทำไมการนำเครื่องบินรบลงจอดบนถนนถึงเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น นั่นก็เพราะว่าเครื่องบินเกือบทุกแบบจำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการนำเครื่องขึ้นบิน หรือ
ลงจอดตามระยะทางที่กำหนด ซึ่งขึ้นอยู่กับน้ำหนัก และ สมรรถนะของตัวเครื่อง เช่น เครื่อง Boing 747 เครื่องบินพาณิชย์ขนาดใหญ่ ต้องใช้ระยะลงจอดราว 1,500-1,800 เมตร
ลงจอดตามระยะทางที่กำหนด ซึ่งขึ้นอยู่กับน้ำหนัก และ สมรรถนะของตัวเครื่อง เช่น เครื่อง Boing 747 เครื่องบินพาณิชย์ขนาดใหญ่ ต้องใช้ระยะลงจอดราว 1,500-1,800 เมตร

สรุปข่าว
Gripen กลับใช้รันเวย์สั้นสุด ๆ เพียง 500-800 เมตร เท่านั้น และนั่นคือความแตกต่างทางสมรรถนะ ที่เป็นความเหนือชั้นของกริพเพน ที่สามารถลงจอดบนพื้นถนนได้ แม้ในยามสงครามที่สนามบินถูกทำลาย
ส่วนเครื่องบินรบอย่าง F-16 F-35 MiG-29 และ Eurofighter Typhoon ก็ต้องใช้รันเวย์ในการลงจอด โดยต้องมีระยะลงจอดตั้งแต่ 600 เมตร ไปจนถึง 1,000 เมตร
ขณะที่ Gripen กลับใช้รันเวย์สั้นสุด ๆ เพียง 500-800 เมตร เท่านั้น และนั่นคือความแตกต่างทางสมรรถนะ ที่เป็นความเหนือชั้นของกริพเพน ที่สามารถลงจอดบนพื้นถนนได้ แม้ในยามสงครามที่สนามบินถูกทำลาย

Gripen มีระยะลงจอดสั้นที่สุดในโลกหรือไม่? Gripen เป็นเครื่องบินรบที่ใช้รันเวย์สั้นที่สุดในกลุ่มเครื่องบินรบปกติ แต่ระยะจอดไม่สั้นเท่ากับ เครื่องบิน STOL และ V/STOL ซึ่งบางรุ่นสามารถนำลงจอดแนวดิ่งได้คล้ายเฮลิคอปเตอร์
กริพเพน เป็นเครื่องบินรบสัญชาติสวีเดนปัจจุบันกองทัพอากาศไทยมีเครื่องบิน JAS 39 Gripen ประจำการอยู่ 11 ลำ อยู่ที่กองบิน 7 สุราษฎร์ธานี และเตรียมจัดซื้อเพิ่มเติมตามแผนการระยะยาวขยายฝูงบินให้ครบ 18 ลำ
ที่มาข้อมูล : กองทัพอากาศ
ที่มารูปภาพ : RTAF กองทัพอากาศ

วุฒิพันธุ์ เปรมาสวัสดิ์