คนไทยควรมีเงินสำรองฉุกเฉิน 6-12 เดือน ยุคเศรษฐกิจโลกผันผวน เอกชน-ข้าราชการ-Freelance ควรมีเงินเท่าไหร่?

คนไทยควรมีเงินสำรองฉุกเฉิน 6-12 เดือน ยุคเศรษฐกิจโลกผันผวน เอกชน-ข้าราชการ-Freelance ควรมีเงินเท่าไหร่?

ในยุคเศรษฐกิจโลกผันผวน กำแพงภาษีทรัมป์ จนหั่นคาดการณ์ GDP ของทั่วโลก รวมถึงไทยที่จะโตต่ำไม่ถึง 2.0% ในปีนี้ คำถามคือ พนักงานอย่างเรา ๆ ควรมีเงินสำรองฉุกเฉินเพื่อรับมือความไม่แน่นอนทางอาชีพได้อย่างไร

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย ชี้ว่า ถึงเวลาที่คนไทยต้องมีเงินสำรองฉุกเฉินเพิ่มขึ้นแล้ว เพื่อรับมือความไม่แน่นอนเหล่านี้ จากเดิม 3-6 เดือน ต้องเพิ่มเป็น 6-12 เดือนแล้ว หรือเท่าตัวเลยทีเดียว

เรามาดูกันว่า ลักษณะอาชีพแบบไหนควรมีเงินเก็บสำรองฉุกเฉินแค่ไหน

สรุปข่าว

ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน สมาคมนักวางแผนการเงินไทยแนะนำให้เพิ่มเงินสำรองฉุกเฉินเป็น 6-12 เดือน พนักงานเอกชนควรมี 6 เดือน (รายจ่าย 50,000 บาท สำรอง 300,000 บาท) ข้าราชการแม้มั่นคงก็ควรมี 6 เดือน (รายจ่าย 18,500 บาท สำรอง 110,000 บาท) ส่วนฟรีแลนซ์ควรมีถึง 12 เดือน (รายจ่าย 30,000 บาท สำรอง 360,000 บาท) เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัวและผลกระทบจากภาษีทรัมป์ น่าเป็นห่วงที่มีคนไทยเพียงไม่ถึง 3% ที่วางแผนการเงินอย่างเหมาะสม

ในยุคเศรษฐกิจโลกผันผวน กำแพงภาษีทรัมป์ จนหั่นคาดการณ์ GDP ของทั่วโลก รวมถึงไทยที่จะโตต่ำไม่ถึง 2.0% ในปีนี้ คำถามคือ พนักงานอย่างเรา ๆ ควรมีเงินสำรองฉุกเฉินเพื่อรับมือความไม่แน่นอนทางอาชีพได้อย่างไร

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย ชี้ว่า ถึงเวลาที่คนไทยต้องมีเงินสำรองฉุกเฉินเพิ่มขึ้นแล้ว เพื่อรับมือความไม่แน่นอนเหล่านี้ จากเดิม 3-6 เดือน ต้องเพิ่มเป็น 6-12 เดือนแล้ว หรือเท่าตัวเลยทีเดียว

เรามาดูกันว่า ลักษณะอาชีพแบบไหนควรมีเงินเก็บสำรองฉุกเฉินแค่ไหน

กลุ่มแรก คือ พนักงานเอกชน ซึ่งมีเงินเดือนค่อนข้างสูง มั่นคงระดับหนึ่ง แต่ก็ควรมีเงินสำรองเพื่อป้องกันการตกงานในอนาคตด้วย โดยสมาคมนักวางแผนการเงินไทย เคยแนะนำให้มีเงินสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 3 เดือน ยกตัวอย่าง ถ้าคุณมีรายจ่ายต่อเดือน 50,000 บาท ก็ควรมีเงินสำรอง 150,000 บาท

แต่คำแนะนำใหม่คือ ตอนนี้ ควรมีเงินสำรอง 6 เดือนขึ้นไป คือ มีเงินถึง 300,000 บาทเลยทีเดียว

ส่วนกลุ่มอาชีพข้าราชการ-รัฐวิสาหกิจ ซึ่งกสิกรไทยชี้ว่า เป็นกลุ่มอาชีพที่มีความมั่นคงสูง โอกาสตกงานต่ำ แต่ก่อนแนะนำให้มีเงินสำรองฯ 2 เดือนขึ้นไป ยกตัวอย่าง รายจ่ายต่อเดือน 18,500 บาท ก็ควรมีเงินสำรอง 37,000 บาทขึ้นไป 

แต่คำแนะนำใหม่ ชี้ว่า ควรมีเงินสำรองฯ 6 เดือนขึ้นไปเช่นกัน คือ ควรมีเงินเย็นติดตัวไว้ 110,000 บาทขึ้นไป

สุดท้าย กลุ่มอาชีพอิสระ หรือ Freelance ที่มีอัตราความเสี่ยงสูงที่สุด อาชีพไม่มั่นคงมากกว่าสองกลุ่มแรก และรายได้ไม่แน่นอน

แต่ก่อน สมาคมนักวางแผนการเงินไทยชี้ว่า ควรมีเงินเก็บ 3-6 เดือน ยกตัวอย่าง รายจ่ายต่อเดือน 30,000 บาท ก็ควรมีเงินเก็บสำรอง 90,000-180,000 บาท

ตอนนี้ เหล่าฟรีแลนซ์ควรมีเงินเก็บเพิ่มเป็นไม่ต่ำกว่า 12 เดือนเลยทีเดียว คือต้องมีเงินสำรองฯ ถึง 360,000 บาทขึ้นไปเลยทีเดียว 

แล้วทำไมเราทุกคนควรมีเงินสำรองฉุกเฉิน ทางสมาคมฯ อธิบายว่า ไม่เพียงเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในภาวะชะลอตัว และภัยจากภาษีทรัมป์ แต่ตลาดลงทุนเองก็ผันผวน ที่สำคัญ เรื่องของการวางแผนการเงินนั้น จริง ๆ แล้ว ไม่ใช่แค่คนมีฐานะที่ทำได้ แต่ทุกคนสามารถทำได้ แต่ก็ยังอยู่ในสัดส่วนน้อยมาก พบว่ามีคนไทยที่วางแผนการเงินไม่ถึง 3% เท่านั้น 

ที่มาข้อมูล : สมาคมนักวางแผนการเงินไทย

ที่มารูปภาพ : Freepik