ญี่ปุ่นพัฒนา “Int-Ball 2” หุ่นยนต์ลูกบอลสุดน่ารัก ลอยตัวช่วยงานในสถานีอวกาศ

ญี่ปุ่นพัฒนา “Int-Ball 2” หุ่นยนต์ลูกบอลสุดน่ารัก ลอยตัวช่วยงานในสถานีอวกาศ

ญี่ปุ่นพัฒนาหุ่นยนต์ลูกบอลสุดน่ารักในชื่อ อินต์-บอล ทู (Int-Ball2) หุ่นยนต์ที่ออกแบบมาให้ลอยตัวอยู่ท่ามกลางสภาวะไร้น้ำหนักของสถานีอวกาศนานาชาติได้อย่างอิสระ ทำหน้าที่เป็นช่างถ่ายภาพและวิดีโอของนักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติ ในขณะที่พวกเขาทำกิจกรรมประจำวัน

สรุปข่าว

ญี่ปุ่นพัฒนาหุ่นยนต์ลูกบอล "อินต์-บอล ทู" สำหรับปฏิบัติงานบนสถานีอวกาศนานาชาติ ทำหน้าที่ถ่ายภาพและวิดีโออัตโนมัติเพื่อลดภาระของนักบินอวกาศ โดยสามารถเคลื่อนที่อย่างอิสระในสภาวะไร้น้ำหนัก ควบคุมระยะไกลจากพื้นโลก ชาร์จพลังงานเองได้ และนำทางด้วยระบบเซ็นเซอร์และแผนที่ภาพ ซึ่งถูกส่งขึ้นไปปฏิบัติงานตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2023

ญี่ปุ่นพัฒนาหุ่นยนต์ลูกบอลสุดน่ารักในชื่อ อินต์-บอล ทู (Int-Ball2) หุ่นยนต์ที่ออกแบบมาให้ลอยตัวอยู่ท่ามกลางสภาวะไร้น้ำหนักของสถานีอวกาศนานาชาติได้อย่างอิสระ ทำหน้าที่เป็นช่างถ่ายภาพและวิดีโอของนักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติ ในขณะที่พวกเขาทำกิจกรรมประจำวัน

หุ่นยนต์ตัวนี้พัฒนาโดยองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) เป็นหุ่นยนต์ติดตั้งกล้องและทำงานแบบอัตโนมัติรุ่นล่าสุด ตัวหุ่นยนต์เป็นทรงกลม มีขนาดกะทัดรัด มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 200 มิลลิเมตร สามารถสั่งการควบคุมระยะไกลโดยผู้ควบคุมภาคพื้นดินเพื่อถ่ายภาพและวิดีโอบนสถานีอวกาศ


สำหรับหน้าที่ของหุ่นยนต์ตัวนี้ก็คือการคอยบันทึกภาพบนสถานีอวกาศโดยไม่ต้องให้นักบินอวกาศต้องมาคอยจัดเตรียมควบคุมกล้อง หรือเสียเวลาปรับการตั้งค่าและเปลี่ยนตำแหน่งของกล้องเอง เมื่อมีหุ่นยนต์ตัวนี้ ผู้ควบคุมภาคพื้นดินก็สามารถสั่งเก็บภาพจากระยะไกล ทำให้มองเห็นว่านักบินอวกาศกำลังทำอะไรอยู่ในวงโคจร และทำให้ลูกเรือมีอิสระในการทำงานมากขึ้น


นอกจากนี้หุ่นยนต์ยังมีความสามารถในการ “ดูแลตัวเองได้” หรือก็คือเมื่อพลังงานของหุ่นยนต์ใกล้จะหมด มันก็จะลอยกลับไปยังสถานีเชื่อมต่อ เพื่อชาร์จพลังงานเอง และกลับมาทำงานต่อในภายหลังได้แบบอัตโนมัติ ทำให้ไม่ต้องรบกวนเวลาลูกเรือในการดูแล

ซึ่งเบื้องหลังของความสามารถในการเคลื่อนที่เอง แบบไม่ชนเข้ากับสิ่งกีดขวาง และการเข้าสถานีชาร์จด้วยตัวเองได้อย่างแม่นยำนี้ ก็มาจากการทำงานของหลายอุปกรณ์ร่วมกัน เช่น ระบบพัดลมในการผลักตัวหุ่นยนต์ เซ็นเซอร์วัดแรงเฉื่อย (IMU) ระบบระบุตำแหน่ง และการทำแผนที่ด้วยภาพ ซึ่งรวมแล้วทำให้ลูกบอล รักษาทิศทาง และนำทางผ่านสถานีอวกาศได้ดีขึ้น


สำหรับหุ่นยนต์ อินต์-บอล ทู (Int-Ball2) ถูกส่งขึ้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติเมื่อเดือนมิถุนายน 2023 และยังคงปฏิบัติงานอยู่ในสถานีอวกาศ เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนภารกิจของนักบินอวกาศต่อไป



แท็กบทความ

JAXANASA
IntBall2
หุ่นยนต์ลูกบอล
tnntech