

สรุปข่าว
หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ในรัฐบาลชุดปัจจุบัน นั่นคือ เมดิคัลฮับ (Medical Hub) หรือ ศูนย์กลางสุขภาพครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน นับเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีการเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่เพื่อเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนคตหรือ New S-Curve โดยประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์รวมการสร้างนวัตกรรมการแพทย์ที่สมัยใหม่ อาทิ โรงพยาบาลอัจฉริยะ และ วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 ในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2563 ต่อ เนื่องจนถึงปัจจุบัน ทำให้บุคลากรทางแพทย์ของไทยต้องรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวอย่างหนัก ประกอบกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ และเครื่องมือป้องกันไวรัสดังกล่าวมีความจำเป็นต้องใช้งานเป็นจำนวนมาก และในฐานะที่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด(มหาชน) หรือ IRPC ดำเนินธุรกิจปิโตรเลียม อาทิ โรงกลั่นน้ำมัน และธุรกิจปิโตรเคมี จึงได้แแสดงความมุ่งมั่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมขยายธุรกิจพัฒนาผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษที่มีมูลค่าสูงต่อยอดไปสู่ธุรกิจปลายน้ำ รสมทั้งตอบโจทย์ Smart Material & Smart Energy อาทิ อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล
นายชวลิต ทิพพาวนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ไออาร์พีซี บอกถึงวิสัยทัศน์ธุรกิจของบริษัท ว่า ผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด - 19 ส่งผลทำให้ราคาน้ำมันที่ผันผวน ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ สังคม รวมทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคไปสู่บริบทใหม่ หรือ New Normal ซึ่งไออาร์พีซี ได้เห็นโอกาสจากความท้าทายและโอกาสจากวิกฤตโควิด-19 ดังกล่าว จึงเริ่มปรับโครงสร้างต้นทุน รูปแบบและวิธีการดำเนินธุรกิจให้เข้าใจเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น (Human centric) จึงมีกลยุทธ์มุ่งสู่การเติบโตไปยังธุรกิจปิโตรเคมีปลายน้ำ มุ่งเน้นการพัฒนาและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอุปกรณ์การแพทย์และสาธารณสุข เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและขยายธุรกิจปิโตรเคมี
ตั้งอินโนโพลิเมดรุกธุรกิจอุปกรณ์การแพทย์
ไออาร์พีซี ยังเห็นโอกาสในการลงทุนธุรกิจ ปิโตรเคมีปลายน้ำ และร่วมมือกับ บริษัท อินโนบิก (เอเชีย) จำกัด ในเครือ บมจ.ปตท. ซึ่งดำเนินธุรกิจยา อาหารเพื่อสุขภาพและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ภายใต้ชื่อ บริษัทร่วมทุนใหม่ ว่า “ อินโนโพลีเมด” โดยไออาร์พีซี ถือหุ้น 60% และ อินโนบิก ถือหุ้น 40 % ดำเนินธุรกิจอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดย ตั้งโรงงานที่จังหวัดระยอง ผลิตผ้า Melt Blown ที่มีเส้นใยขนาดเล็ก มีการกรองที่ดี และใช้เป็นผ้ากรองชั้นในหน้ากากอนามัย N95 และทำชุดกาวน์ รวมทั้งผลิตยางสังเคราะห์ Nitrile Butadiene Latex (NBL) เพื่อเป็นวัตถุดิบทำถุงมือไนไตร ทนต่อสารเคมี โดยไออาร์พีซีได้ใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยี สร้างผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานสากลซึ่งเตรียมจำหน่ายผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ในไตรมาส 4 ปี 2564 นี้
ก่อนหน้านั้น ไออาร์พีซี ยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ทาการแพทย์ต่างๆ อาทิ ร่วมกับ บริษัท เอเซีย โพลีแซคส์ จำกัด ผู้ผลิตถุงกระสอบสานพลาสติกรายใหญ่ของประเทศไทย และเป็นคู่ค้าสำคัญของ ไออาร์พีซี พัฒนาต่อยอดนวัตกรรมพลาสติกคลุมเตียงเคลื่อนย้ายสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อแบบแรงดันลบ โดยใช้วัตถุดิบผ้ากระสอบพลาสติกที่ผลิตจากเม็ดพลาสติก โพลีแมกซ์“ เกรดพิเศษของไออาร์พีซี ที่มีคุณสมบัติเหนียว แข็งแรง ทนทานสูง ด้วยต้นทุนผลิตพลาสติกคลุมเตียงจากบริษัท เอเซีย โพลีแซคส์ ซึ่งต่ำกว่าพลาสติกต้นแบบเกือบ 3 เท่าตัว ทำให้ช่วยลดการนำเข้าจากต่างประเทศ และเพิ่มความปลอดภัยสูงสุดแก่บุคลากรทางการแพทย์ ลดความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัส COVID-19
นอกจากนี้ยังร่วมมือพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ กับคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และสร้างห้องปฏิบัติการตรวจสอบมาตรฐานสากลของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในทาง การแพทย์ เช่น ชุด PPE หน้ากากอนามัย สนับสนุนการผลิตวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ทดแทนการนำเข้า และราคาค่อนข้างสูง
ดันไทยสู่ฮับสุขภาพ
ทั้งนี้การร่วมทุนดังกล่าว เป็นการขยายธุรกิจต่อยอดนวัตกรรมให้เกิดประโยชน์กับประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจสุขภาพ สุขอนามัยและการแพทย์ ซึ่งไออาร์พีซีเล็งเห็นโอกาสในการสร้างนวัตกรรมเม็ดพลาสติกชนิดพิเศษไปสู่ Smart Material และยังเป็นการขยายผลความร่วมมือทางธุรกิจ ที่สำคัญ บริษัทร่วมทุนอินโนโพลิเมด ยังจะช่วยเพิ่มความมั่นคงและแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุขกับประเทศตามนโยบาย Thailand 4.0 สู่การเป็น Medical Hub รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย ตลอดจนสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืน
ที่มาข้อมูล : -