ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ "ส่งออกไทย" เดือนมีนาคม 2568 มีถึงมูลค่า 29,584 ล้านดอลลาร์ ขยายตัวร้อยละ 17.8 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) ถือเป็นการเติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 และสูงสุดในรอบ 3 ปี ขณะที่ การนำเข้าเดือนมีนาคม 2568 มีมูลค่า 28,575.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 10.2 YoY ทำให้ดุลการค้า เกินดุล 973.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดังนั้น ภาพรวมการส่งออก 3 เดือนแรกของปี 2568 การส่งออก มีมูลค่า 81,532.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 15.2 YoY การนำเข้า มีมูลค่า 80,451.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 7.4 YoY ทำให้ดุลการค้า เกินดุล 1,081.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ การส่งออกที่ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และในไตรมาสแรกของปีนี้เติบโตดี เนื่องจากได้รับแรงหนุนหลักจากสินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกา จีน และสหภาพยุโรป ประเทศคู่ค้าเหล่านี้มีการเร่งตัวด้านการผลิต ท่ามกลางความพยายามในการรับมือกับความเสี่ยงจากการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ ส่งผลให้มีการเร่งนำเข้าสินค้าเพื่อรักษาเสถียรภาพของห่วงโซ่อุปทานในภาคการผลิต และบรรเทาผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนและราคาสินค้าที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
สำหรับการส่งออกไปตลาดสำคัญของไทยส่วนใหญ่ขยายตัว โดยตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 17.3 จากขยายตัวต่อเนื่องในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 34.3 จีน ร้อยละ 22.2 ญี่ปุ่น ร้อยละ 1.5 สหภาพยุโรป (27 ปท.) ร้อยละ 4.0 อาเซียน (5 ประเทศ) ร้อยละ 13.2 และ CLMV ( กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม) ร้อยละ 10.1
ขณะที่ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 10.2 โดยขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 9.2 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 25.1 แอฟริกา ร้อยละ 3.5 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 11.5 รัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 59.5 และสหราชอาณาจักร ร้อยละ 7.7 แต่หดตัวในตลาดทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 11.4 และ ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 232.6
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มองว่าตัวเลขการส่งเดือนมีนาคม 2568 น่าพอใจมาก โดยกระทรวงพาณิชย์เชื่อว่าหากสถานการณ์ไม่ผันผวนการส่งออกจะยังเป็น “พระเอก” ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปีนี้ ซึ่ง 3 เดือนแรกเห็นชัดแล้วว่าโตถึงร้อยละ 15.2 ขณะที่เดือนมี.ค. โตร้อยละ 17.8 ,มูลค่าทะลุ 29,000 ล้านดอลลาร์เป็น “ครั้งแรกในประวัติศาสตร์”
โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกของรัฐบาลชุดปัจจุบัน (ตุลาคม 67 - มีนาคม 2568 ) ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร มูลค่าการส่งออกสินค้าเติบโตถึงร้อยละ 12.9 คิดเป็นมูลค่ากว่า 5 ล้านล้านบาท ถือว่าเป็นการฟื้นตัวอย่างชัดเจน และเชื่อว่าการส่งออกในไตรมาสแรกนี้ จะเป็นแรงที่ช่วยขับเคลื่อนให้ GDP ไตรมาส 1 ปีนี้ เติบโตมากกว่าร้อยละ 3 (ตัวเลข GDP อย่างเป็นทางการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะแถลง 19 พฤษภาคม 2568)
"การส่งออกของไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ยังมีแนวโน้มที่ดี และมั่นใจว่าการส่งออกของไทยทั้งปีนี้ยังสามารถขยายตัวเป็นบวกได้ กระทรวงพาณิชย์จึงคงเป้าหมายการส่งออกทั้งปีนี้ไว้ที่ร้อยละ 2-3" รมว.พาณิชย์กล่าว
สรุปข่าว
ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ "ส่งออกไทย" เดือนมีนาคม 2568 มีถึงมูลค่า 29,584 ล้านดอลลาร์ ขยายตัวร้อยละ 17.8 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) ถือเป็นการเติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 และสูงสุดในรอบ 3 ปี ขณะที่ การนำเข้าเดือนมีนาคม 2568 มีมูลค่า 28,575.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 10.2 YoY ทำให้ดุลการค้า เกินดุล 973.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดังนั้น ภาพรวมการส่งออก 3 เดือนแรกของปี 2568 การส่งออก มีมูลค่า 81,532.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 15.2 YoY การนำเข้า มีมูลค่า 80,451.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 7.4 YoY ทำให้ดุลการค้า เกินดุล 1,081.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ การส่งออกที่ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และในไตรมาสแรกของปีนี้เติบโตดี เนื่องจากได้รับแรงหนุนหลักจากสินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกา จีน และสหภาพยุโรป ประเทศคู่ค้าเหล่านี้มีการเร่งตัวด้านการผลิต ท่ามกลางความพยายามในการรับมือกับความเสี่ยงจากการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ ส่งผลให้มีการเร่งนำเข้าสินค้าเพื่อรักษาเสถียรภาพของห่วงโซ่อุปทานในภาคการผลิต และบรรเทาผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนและราคาสินค้าที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
สำหรับการส่งออกไปตลาดสำคัญของไทยส่วนใหญ่ขยายตัว โดยตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 17.3 จากขยายตัวต่อเนื่องในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 34.3 จีน ร้อยละ 22.2 ญี่ปุ่น ร้อยละ 1.5 สหภาพยุโรป (27 ปท.) ร้อยละ 4.0 อาเซียน (5 ประเทศ) ร้อยละ 13.2 และ CLMV ( กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม) ร้อยละ 10.1
ขณะที่ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 10.2 โดยขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 9.2 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 25.1 แอฟริกา ร้อยละ 3.5 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 11.5 รัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 59.5 และสหราชอาณาจักร ร้อยละ 7.7 แต่หดตัวในตลาดทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 11.4 และ ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 232.6
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มองว่าตัวเลขการส่งเดือนมีนาคม 2568 น่าพอใจมาก โดยกระทรวงพาณิชย์เชื่อว่าหากสถานการณ์ไม่ผันผวนการส่งออกจะยังเป็น “พระเอก” ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปีนี้ ซึ่ง 3 เดือนแรกเห็นชัดแล้วว่าโตถึงร้อยละ 15.2 ขณะที่เดือนมี.ค. โตร้อยละ 17.8 ,มูลค่าทะลุ 29,000 ล้านดอลลาร์เป็น “ครั้งแรกในประวัติศาสตร์”
โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกของรัฐบาลชุดปัจจุบัน (ตุลาคม 67 - มีนาคม 2568 ) ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร มูลค่าการส่งออกสินค้าเติบโตถึงร้อยละ 12.9 คิดเป็นมูลค่ากว่า 5 ล้านล้านบาท ถือว่าเป็นการฟื้นตัวอย่างชัดเจน และเชื่อว่าการส่งออกในไตรมาสแรกนี้ จะเป็นแรงที่ช่วยขับเคลื่อนให้ GDP ไตรมาส 1 ปีนี้ เติบโตมากกว่าร้อยละ 3 (ตัวเลข GDP อย่างเป็นทางการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะแถลง 19 พฤษภาคม 2568)
"การส่งออกของไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ยังมีแนวโน้มที่ดี และมั่นใจว่าการส่งออกของไทยทั้งปีนี้ยังสามารถขยายตัวเป็นบวกได้ กระทรวงพาณิชย์จึงคงเป้าหมายการส่งออกทั้งปีนี้ไว้ที่ร้อยละ 2-3" รมว.พาณิชย์กล่าว
ด้านมุมมองของภาคเอกชน “นายธนากร เกษตรสุวรรณ” ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก มีความเห็นว่าการส่งออกทั้งปี 2568 ยังมีโอกาสขยายตัวเป็นบวก จึงคงประมาณการส่งออกทั้งปีนี้ไว้ที่ร้อยละ 1-3 เนื่องจากตัวเลขส่งออกเดือนมีนาคม 2568 ที่ขยายตัวถึงร้อยละ 17.8 ถือว่าเติบโตสูงมากอย่างมีนัยสำคัญและมองว่าไตรมาส 2 ของปีนี้ ตัวเลขการส่งออกยังเติบโตได้ต่อเนื่อง เพราะผู้นำเข้าโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา จะยังคงเร่งนำเข้าสินค้าในอัตราภาษีเดิมก่อนมาตรการภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ จะเริ่มมีผลบังคับใช้หลังผ่อนผัน 90 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 9 กรกฎาคมนี้
แต่ในช่วง 6 เดือนหลังของปีนี้ยอมรับว่าผู้ส่งออกคง “เหนื่อย” ตัวเลขอาจไม่เติบโตเท่าครึ่งปีแรก เพราะประเทศผู้นำเข้า โดยเฉพาะสหรัฐฯ อาจหันไปนำเข้าสินค้าจากประเทศที่ถูกเก็บภาษีตอบโต้ต่ำที่สุด ดังนั้นต้องรอดูว่าประเทศคู่แข่งคู่ค้าหลัก เช่น จีน อาเซียน และยุโรป จะถูกเก็บอัตราภาษีตอบโต้มากน้อยแค่ไหน หากไทยถูกเก็บภาษีสูงกว่าประเทศอื่น ผู้นำเข้าก็จะลดการนำเข้าจากไทย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยรุนแรงอย่างมีนัยสำคัญ
อย่างไรก็ดี สภาผู้ส่งออกมีข้อเสนอ 4 แนวทางรับมือกรณีสหรัฐอาจเรียกเก็บภาษีตอบโต้ทางการค้า (Reciprocal Tariff)
1) ให้รัฐเจรจาแยกแยะสินค้าที่ผลิตจากการลงทุนของสหรัฐฯในไทยออกจากสินค้าที่ผลิตโดยไทยเอง เพื่อไม่ให้ถูกเก็บภาษี
2) เพิ่มการนำเข้าสินค้าทุนจากสหรัฐฯ โดยเฉพาะเครื่องจักร เพื่อลดการขาดดุลการค้า
3) วางกลยุทธ์สินค้า-คู่ค้าใหม่ คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย และเร่งขยายความร่วมมือในกรอบอาเซียนกับประเทศมหาอำนาจ เช่น อาเซียน–สหรัฐฯ, อาเซียน–จีน, อาเซียน–ญี่ปุ่น, อาเซียน–เกาหลี และอาเซียน–อินเดีย
4) จัดตั้งคณะทำงานรับมือการค้าใหม่ โดยมี "นายกรัฐมนตรี" เป็นประธาน และมีองค์ประกอบหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการต่างประเทศ รวมถึงหน่วยงานภาคเอกชน ได้แก่ สมาคมธนาคารไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย
"ภายใน 3-6 เดือนนี้ หากรัฐบาลดำเนินตาม 4 แนวทางดังกล่าวอย่างจริงจังให้เป็นรูปธรรมก็มีโอกาสที่การส่งออกทั้งปีนี้ไม่ติดลบและเติบโตได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ร้อยละ 1-3 " ประธานสภาผู้ส่งออกกล่าว
อย่างไรก็ดี ในกรณีรัฐบาลจะออกมาตรกรกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 500,000 ล้านบาทเพื่อช่วยผู้ส่งออกจากนโยบายทรัมป์ 2.0 นั้น ประธานสภาผู้ส่งออกเสนอว่า รัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณบางส่วนมาสนับสนุนสร้างสินค้า “ Champion” เพื่อนำไปแข่งขันในเวทีโลก อาทิ “การแปรรูอาหาร” และสินค้าที่เน้นเรื่องของการ”ออกแบบ” ซึ่งไทยมีศักยภาพ แต่รัฐบาลต้องให้การสนับสนุนและพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปตลอด เพื่อผลักดันและขับเคลื่อนการส่งออกไทยให้แข่งขันได้ในระยะยาวและเติบโตอย่างยั่งยืน
อย่างไรก็ดี แม้ภาครัฐโดยกระทรวงพาณิชย์ และภาคเอกชน โดยสภาผู้ส่งออก จะมองว่าการส่งออกของไทยปีนี้ยังมีลุ้นขยายตัวเป็นบวกได้ โดยยังคงประมาณการส่งออกทั้งปีนี้
ขณะที่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับลดประมาณการส่งออกไทยในปี 2568 หดตัวร้อยละ 0.5 จากก่อนหน้าที่ประเมินไว้อาจขยายตัวที่ร้อยละ 2.5 เนืองจากประเมินว่าไตรมาสที่ 2 ปี 2568 แม้การส่งออกไทยจะยังขยายตัวเป็นบวก แต่คาดว่าจะชะลอลงจากไตรมาสแรกอย่างมีนัยสำคัญ จากการเร่งนำเข้าสินค้าไปมากแล้ว และผลของปัจจัยฐานในเดือน พ.ค. 2567 ที่อยู่ในระดับสูง
สำหรับครึ่งปีหลัง ศูนย์ยิจัยกสิกรไทยคาดว่าการส่งออกไทยจะหดตัวจากผลของการปรับขึ้นภาษีของสหรัฐฯ และความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าโลกเพิ่มขึ้น กดดันเศรษฐกิจและการค้าโลกให้ชะลอตัวกระทบภาพรวมการส่งออกไทย โดยองค์กรการค้าระหว่างประเทศ (WTO) ได้ปรับลดคาดการณ์การค้าโลกลงที่ร้อยละ 0.2 จากเดิมที่เคยประเมินไว้ในเดือนต.ค.2567 ที่ร้อยละ 3.0
อย่างไรก็ดี การส่งออกไทยอาจกลับมาขยายตัว หากสามารถเจรจากับสหรัฐฯ ให้ถูกเก็บภาษีต่ำกว่าร้อยละ 36 และต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง อาทิ เวียดนาม และมาเลเซีย แต่หากการเจรจาไม่บรรลุผลหรือไทยถูกเก็บภาษีสูงกว่า อาจส่งผลกระทบทางลบต่อการส่งออกไทย
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังปรับลดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพีไทยปีนี้ลดลงเหลือร้อยละ 1.4 จากเดิมร้อยละ 2.4
ด้านศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB EIC ประเมินว่ามูลค่าส่งออกไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2568 จะขยายตัวดีโดยตัวเลขมูลค่าการส่งออกไตรมาส 1 ขยายตัวมากถึงร้อยละ 15.2 ขณะที่ไตรมาส 2 จะชะลอตัวลงมาก เพราะหลายแรงส่งสำคัญจะแผ่วลง โดยเฉพาะการเร่งสั่งซื้อของคู่ค้าก่อนนโยบายกีดกันการค้าของสหรัฐฯ จะเริ่มมีผล
และการส่งออกไทยในช่วงครึ่งหลังของปีจะเผชิญปัจจัยกดดันและความไม่แน่นอนที่รุนแรงมากขึ้น มูลค่าการส่งออกในช่วงครึ่งหลังของปีจะหดตัวรุนแรง โดยเฉพาะไตรมาสสุดท้าย ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกทั้งปีเสี่ยงหดตัวร้อยละ 0.4 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.6 และปรับลดประมาณการจีดีพีปีนี้ลดลงเหลือร้อยละ 1.5 จากร้อยละ 2.4
ดังน้้น แม้การส่งออกจะเป็นปัจจัยสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย แต่ท่ามกลางมรสุมความไม่แน่นอนที่สูงขึ้น อาจทำให้การส่งออก "แบก" เศรษฐกิจไทยได้ไม่เต็มที่เหมือนที่ผ่านมา
ที่มาข้อมูล : กระทรวงพาณิชย์, สรท., ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, SCB EIC
ที่มารูปภาพ : TNN 16