นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนมีนาคม 2568 ว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในเดือนมีนาคม 2568 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือน 9
อย่างไรก็ตาม ภาคการท่องเที่ยวต่างชาติ และการบริโภคในหมวดสินค้าคงทนมีแนวโน้มชะลอตัวลง ทั้งนี้ ยังจำเป็นต้องติดตามนโยบายเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะสหรัฐและจีน ที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในด้านต่าง ๆ อย่างใกล้ชิดต่อไป
สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน มีสัญญาณทรงตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ในเดือนมีนาคม 2568 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.1
แต่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ -3.5 สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่แท้จริง ในเดือนมีนาคม 2568 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 1.7
สรุปข่าว
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนมีนาคม 2568 ว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในเดือนมีนาคม 2568 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือน 9
อย่างไรก็ตาม ภาคการท่องเที่ยวต่างชาติ และการบริโภคในหมวดสินค้าคงทนมีแนวโน้มชะลอตัวลง ทั้งนี้ ยังจำเป็นต้องติดตามนโยบายเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะสหรัฐและจีน ที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในด้านต่าง ๆ อย่างใกล้ชิดต่อไป
สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน มีสัญญาณทรงตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ในเดือนมีนาคม 2568 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.1
แต่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ -3.5 สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่แท้จริง ในเดือนมีนาคม 2568 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 1.7
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ในเดือนมีนาคม 2568 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 56.7 จากระดับ 57.8 ในเดือนก่อน เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมยังคงฟื้นตัวช้า ค่าครองชีพสูง รวมถึงปัญหาสงครามการค้าที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น
นอกจากนี้สถานการณ์เศรษฐกิจโลกยังคงขยายตัว โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากภาคการผลิตและบริการ ถึงแม้การขยายตัวจะเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลง: สะท้อนจาก ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของทั่วโลก ในเดือนมีนาคม 2568 อยู่ที่ระดับ 52.1 จุด
รวมถึง นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในหลายประเทศ จะเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในระยะต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การท่องเที่ยวที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลง
รวมไปถึงความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์และมาตรการการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ถือเป็นปัจจัยกดดันสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกที่ยังคงต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง ภายใต้สถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง