EFTA เร่งขยายพันธมิตรเศรษฐกิจในอาเซียน

สำนักข่าว Nikkei Asia รายงานว่า กลุ่มประเทศยุโรป 4 ชาติ ได้แก่ ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งรวมตัวกันในนามสมาคมการค้าเสรียุโรป (EFTA) กำลังเร่งกระชับความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์กับมาเลเซียและประเทศเศรษฐกิจอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อกระจายความเสี่ยงจากนโยบายกีดกันการค้าที่ฟื้นคืนขึ้นอีกครั้งภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์

ทั้งนี้ การเจรจาระหว่าง EFTA และมาเลเซียเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2557 แต่เผชิญความล่าช้าหลายครั้งจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศและการระบาดของโควิด-19 ข้อตกลงนี้ได้ข้อสรุปเมื่อวันที่ 11 เมษายน และคาดว่าจะลงนามอย่างเป็นทางการที่นอร์เวย์ในวันที่ 23 มิถุนายน ก่อนเข้าสู่กระบวนการให้สัตยาบันโดยรัฐสภาของแต่ละประเทศสมาชิก EFTA


สรุปข่าว

สมาคมการค้าเสรียุโรป หรือ EFTA บรรลุข้อตกลงเศรษฐกิจกับ “มาเลเซีย” หวังกระจายความเสี่ยงจากนโยบายกีดกันการค้าของสหรัฐ เล็งต่อยอดความร่วมมือในด้านการลงทุน เทคโนโลยี และพลังงานสะอาด

สำนักข่าว Nikkei Asia รายงานว่า กลุ่มประเทศยุโรป 4 ชาติ ได้แก่ ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งรวมตัวกันในนามสมาคมการค้าเสรียุโรป (EFTA) กำลังเร่งกระชับความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์กับมาเลเซียและประเทศเศรษฐกิจอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อกระจายความเสี่ยงจากนโยบายกีดกันการค้าที่ฟื้นคืนขึ้นอีกครั้งภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์

ทั้งนี้ การเจรจาระหว่าง EFTA และมาเลเซียเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2557 แต่เผชิญความล่าช้าหลายครั้งจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศและการระบาดของโควิด-19 ข้อตกลงนี้ได้ข้อสรุปเมื่อวันที่ 11 เมษายน และคาดว่าจะลงนามอย่างเป็นทางการที่นอร์เวย์ในวันที่ 23 มิถุนายน ก่อนเข้าสู่กระบวนการให้สัตยาบันโดยรัฐสภาของแต่ละประเทศสมาชิก EFTA


โดยเนื้อหาสำคัญของข้อตกลง ได้แก่ สินค้าส่งออกสำคัญของประเทศ EFTA เช่น ช็อกโกแลตและเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ จะได้สิทธิเข้าสู่ตลาดมาเลเซียโดยไม่ต้องเสียภาษี รวมถึงสวิตเซอร์แลนด์จะให้สิทธิ์การเข้าถึงตลาดแบบจำกัดและลดภาษีแก่น้ำมันปาล์มของมาเลเซีย ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศ

ในปี 2567 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศ EFTA กับมาเลเซียอยู่ที่ 2.35 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า จาก 550 ล้านดอลลาร์ในปี 2562 สินค้าส่งออกจาก EFTA ไปมาเลเซีย ได้แก่ เครื่องจักร เภสัชภัณฑ์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์ความแม่นยำ และนาฬิกา ขณะที่สินค้านำเข้าจากมาเลเซียประกอบด้วย เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องจักรกล อุปกรณ์ความแม่นยำ และผลิตภัณฑ์ยาง


ทั้งนี้คณะผู้แทน EFTA ยังได้เน้นย้ำโอกาสความร่วมมือในอนาคต โดยเฉพาะด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี งานวิจัย และการลดการปล่อยคาร์บอน ซุนด์เนส จากนอร์เวย์ กล่าวว่า “นอร์เวย์มีประสบการณ์กว่า 50 ปีในการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) ในทะเลเหนือ และเรามีสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับมาเลเซียในฐานะประเทศผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซ”

ที่มาข้อมูล : TNN

ที่มารูปภาพ : TNN

แท็กบทความ

เศรษฐกิจ insigh
สมาคมการค้าเสรียุโรป
มาเลเซีย
นโยบายกีดกันการค้าของสหรัฐ
พลังงานสะอาด