ส่งออกข้าวเดือนเม.ย. เหลือ 7 แสนตัน

ส่งออกข้าวเดือนเม.ย. เหลือ 7 แสนตัน

นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า เบื้องต้นเดือนเมษายน คาดไทยส่งออกข้าวได้ประมาณ 700,000 ตัน ทำให้รวม 4 เดือนแรก 2568 ไทยจะมียอดส่งออกข้าวประมาณ 2 ล้าน 8 แสน 57' 2 ล้าน 9 แสน ตัน ซึ่งลดลงจากปีก่อน ที่ 4 เดือนแรก 2567 ไทยส่งออกเกิน 3 ล้านตัน สาเหตุส่งผลต่อส่งออกข้าวเดือนเมษายนนี้ลดลง เนื่องจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ

1. เดือนเมษายนของประเทศไทย มีการวันหยุดยาวหลายวันต่อเนื่องในช่วงเทศกาลสงกรานต์ วันทำงายจึงน้อยกว่าเดือนอื่น

2.ความต้องการซื้อข้าวขาวไทยลดลงมาก โดยเฉพาะตลาดหลักอย่างอินโดนีเซีย ไม่มีการนำเข้าข้าวเลย ส่วนฟิลิปปินส์ซื้อข้าวขาวจากเวียดนามซึ่งได้นำเข้าแล้วถึง 1 ล้านตัน ส่วนประเทศนำเข้าข้าวขาวอื่นๆเริ่มสั่งซื้อน้อยมาก

3. สำหรับข้าวหอมมะลิ ตลาดหลักในสหรัฐอเมริกา แม้ผู้นำเข้าแสดงความสนใจจะนำเข้าเพิ่ม แต่ผู้ส่งออกยังวิตกเรื่องการชำระค่าข้าว เนื่องจากการขายข้าวกับสหรัฐมีเครดิตเทอม(ระยะเวลาจ่ายชำระค่าสินค้า) 40-60 วันนับจากวันที่ผู้นำเข้ารับข้าวแล้ว 





สรุปข่าว

สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เผย ส่งออกข้าวเดือนเม.ย.คาดเหลือ 700,000 ตัน พ่อค้าชี้ 4 ปัจจัยป่วนตลาด เชียร์หั่นดอกเบี้ยสกัดเงินแข็ง

นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า เบื้องต้นเดือนเมษายน คาดไทยส่งออกข้าวได้ประมาณ 700,000 ตัน ทำให้รวม 4 เดือนแรก 2568 ไทยจะมียอดส่งออกข้าวประมาณ 2 ล้าน 8 แสน 57' 2 ล้าน 9 แสน ตัน ซึ่งลดลงจากปีก่อน ที่ 4 เดือนแรก 2567 ไทยส่งออกเกิน 3 ล้านตัน สาเหตุส่งผลต่อส่งออกข้าวเดือนเมษายนนี้ลดลง เนื่องจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ

1. เดือนเมษายนของประเทศไทย มีการวันหยุดยาวหลายวันต่อเนื่องในช่วงเทศกาลสงกรานต์ วันทำงายจึงน้อยกว่าเดือนอื่น

2.ความต้องการซื้อข้าวขาวไทยลดลงมาก โดยเฉพาะตลาดหลักอย่างอินโดนีเซีย ไม่มีการนำเข้าข้าวเลย ส่วนฟิลิปปินส์ซื้อข้าวขาวจากเวียดนามซึ่งได้นำเข้าแล้วถึง 1 ล้านตัน ส่วนประเทศนำเข้าข้าวขาวอื่นๆเริ่มสั่งซื้อน้อยมาก

3. สำหรับข้าวหอมมะลิ ตลาดหลักในสหรัฐอเมริกา แม้ผู้นำเข้าแสดงความสนใจจะนำเข้าเพิ่ม แต่ผู้ส่งออกยังวิตกเรื่องการชำระค่าข้าว เนื่องจากการขายข้าวกับสหรัฐมีเครดิตเทอม(ระยะเวลาจ่ายชำระค่าสินค้า) 40-60 วันนับจากวันที่ผู้นำเข้ารับข้าวแล้ว 





ดังนั้นในช่วงยังไม่มีความชัดเจนเรื่องการปรับภาษีนำเข้าสินค้าไทยของสหรัฐ หลังจากที่เลื่อนการปรับขึ้นภาษีนำเข้าตอบโต้อัตราร้อยละ 36 ไป 90 วัน และอยู่ระหว่างการเจรจา ซึ่งตอนนี้ข้าวไทยถูกเก็บภาษีนำเข้าแล้วร้อยละ 10 ต่างก็กังวลหากมีการปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าจนกระทบต่อต้นทุนและราคาข้าวในสหรัฐ 

อาจทำให้เกิดปัญหาชะลอจ่ายชำระค่าสินค้าหรืออาจถูกเบี้ยวได้ จึงทำให้ส่งออกข้าวหอมมะลิไปสหรัฐทำแบบระมัดระวัง จึงมีผลต่อยอดส่งออกข้าวหมอมะลิไม่ได้มากนัก 

ขณะที่ตลาดเด่นส่งออกในช่วงนี้ คือ ประเทศแภบแอฟฟิกา ที่มีการซื้อข้าวนึ่งต่อเนื่อง คาดว่าปีนี้จะมียอดถึง 900,000 ตัน จากปีก่อน 800,000 ตัน

อีกปัจจัยที่มีผลกระทบพอๆกัน คือ ปัญหาค่าเงินบาทค่อนข้างผันผวนมาก ทำให้การเจรจาราคาขายข้าวทำได้ยาก แม้จะประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ก็เป็นต้นทุนที่ผู้ประกอบการต้องแบกรับด้วยในแต่ละสัปดาห์ ค่าเงินบาทขึ้นลงหลายรอบมาก หากลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็เป็นเรื่องดี 

ที่มาข้อมูล : TNN

ที่มารูปภาพ : TNN

แท็กบทความ

ส่งออกข้าว
หั่นดอกเบี้ยสกัดเงินแข็ง
สมาคมผู้ส่งออกข้าว
ข้าวหอมมะลิ
ชูเกียรติ โอภาสวงศ์