

สรุปข่าว
สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า ผู้แทนจากจีน กล่าวรับประกัน หลังจากที่ฝั่งสหรัฐฯ แสดงความกังวลว่า “จีนอาจใช้ หรือขู่ที่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์ หากเผชิญกับความพ่ายเพ้ในเรื่องไต้หวัน”
การคุยนิวเคลียร์ครั้งนี้ เป็นการคุยชนิดที่เรียกว่า Track Two ซึ่งหมายถึงตัวแทนจากแต่ละฝั่ง ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลแต่ละขุด แต่อาจเป็นอดีตเจ้าหน้าที่ หรือนักวิชาการที่สามารถพูดคุยกับผู้มีอำนาจ ในตำแหน่งรัฐบาลนั้น ๆ ได้ แม้ว่าจะไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับตำแหน่งใด ๆ เลยก็ตาม (ส่วน Track One คือการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล)
เดวิด ซานโตโร นักวิชาการ ผู้ร่วมเจรจา Track Two ฝ่ายสหรัฐฯ บอกว่า “ฝ่ายจีนบอกว่า พวกเขาสามารถมีจะมีชัยเหนือไต้หวันได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้อาวุธนิวเคลียร์ใด ๆ เลย”
การเจรจาครั้งนี้ มีตัวแทนจากฝั่งสหรัฐฯราว 6 คนเข้าร่วม ในการเจรจานาน 2 วัน ซึ่งจัดขึ้นที่ห้องประชุมในเซี่ยงไฮ้ ส่วนจีนส่งตัวแทนเป็นนักวิชาการ และนักวิเคราะห์ รวมถึงเจ้าหน้าที่จากกองกำลังปลดปล่อยประชาชนจีนอีกหลายคน
แต่อย่างไรก็ตาม การเจรจาอย่างไม่เป็นทางการของ Track Two ก็จะไม่สามารถเอามาใช้แทนที่การเจรจาอย่งเป็นทางการของ Track One ได้ เพราะไม่ได้มี “อำนาจ” ใด ๆ แต่กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ก็เป็นการคุย Track Two ที่มีประโยชน์อย่างมาก
การเจาจาของชาติมหาอำนาจด้านนิวเคลียร์ ระหว่างสหรัฐฯ และจีน มีขึ้นขณะที่มีการกระทบกระทั่งกันเรื่องการค้า และภูมิรัฐศาสตร์ในหลายเรื่อง
การเจรจา Track Two นี้เป็นนส่วนหนึ่งของการเจรจาเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์เป็นระยะเวลา 2 ทศวรรษ แต่ชะงักลงหลังจากที่คณะทำงานของทรัมป์ถอนทุนไปเมื่อปี 2019 โดยหลังการระบาดของโควิดนั้น ได้มีการประชุมฝ่ายความมั่นคง และพลังงาน แต่ไม่มีการหารือเรื่องนิวเคลียร์แต่อย่างใด
นักวิเคราะห์มองว่า แม้จะเป็นเพียงการเจรจาของบุคคลที่ไม่ได้มีผลต่อด้านนโยบาย แต่ก็เป็นความสำคัญที่อย่างน้อยการเจราก็เกิดขึ้นได้
ทั้งนี้ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ประมาณการเมื่อปีที่แล้วว่า จีนน่าจะมีหัวรบนิวเคลียร์ราว 500 หัวรบ และคาดว่าอาจจะมีมากถึง 1,000 หัวรบในปี 2023 ขณะที่สหรัฐฯ มีหัวรบที่ประจำการที่ 1,770 หัวรบ ส่วนรัสเซียมีราว 1,710 หัวรบ โดยเพนตากอนระบุว่า ภายในปี 2030 คาดว่าอาวุธของจีนจะมีความพร้อมในขั้นสูงสุด
_____
ภาพ: Reuters
ที่มาข้อมูล : -