เจ้าหน้าที่-สัตวแพทย์ รีบช่วยเหลือช้างป่า "พลายด้วน" ขาหลังซ้ายเจ็บ-มีหนอง

เจ้าหน้าที่-สัตวแพทย์ รีบช่วยเหลือช้างป่า "พลายด้วน" ขาหลังซ้ายเจ็บ-มีหนอง

สรุปข่าว

วันนี้ (2 ก.ค.67) นายพิทักษ์ อินทศร ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมาทางศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 2 (กระบกคู่) ทีมสัตวแพทย์และสัตวบาลจากกลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า สัตวบาลจากสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน พร้อมอาสาสมัครในพื้นที่ ได้เข้าติดตามอาการและรักษาช้างป่าเจ็บขาหลังซ้ายเดินกะเผลก ชื่อ “พลายด้วน” เพศผู้ มีงา อายุประมาณ 30 ปีขึ้นไป น้ำหนักประมาณ 3 ตัน ในพื้นที่ตำบลน้ำเป็น อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง 

.

โดยนางสาวมัชฌมณ แก้วพฤหัสชัย นายสัตวแพทย์ชำนาญการ หัวหน้าศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 2 (กระบกคู่) นางสาวกิตติยาภรณ์ เอี่ยมสะอาด นายสัตวแพทย์ชำนาญการ กลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า และเจ้าหน้าที่ได้ทำการวางยาซึมเพื่อเข้ารักษา ขาหลังซ้ายซึ่งมีรูแผลข้างๆ หัวเข่า กว้างประมาณ 1 นิ้ว ลึกประมาณ 2 เซนติเมตร มีหนอง และพบยังว่ามีแผลบริเวณหลังด้านซ้าย ลักษณะแผลเป็นรอยนูนขึ้นมา ส่วนฝ่าเท้าขาหลังซ้ายไม่มีแผล ไม่มีสิ่งแปลกปลอม

เจ้าหน้าที่-สัตวแพทย์ รีบช่วยเหลือช้างป่า พลายด้วน ขาหลังซ้ายเจ็บ-มีหนอง

ภาพ: พลายด้วน ช้างป่า ขาหลังซ้ายเจ็บ-มีหนอง เจ้าหน้าที่เฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด

จากการประเมินอาการเบื้องต้น เจ้าหน้าที่ และทีมสัตวแพทย์ได้ทำการวางยาซึมเพื่อเข้ารักษา ขาหลังซ้าย ซึ่งมีรูแผลข้างๆ หัวเข่า กว้างประมาณ 1 นิ้ว ลึกประมาณ 2 เซนติเมตร มีหนอง และพบยังว่ามีแผลบริเวณหลังด้านซ้าย ลักษณะแผลเป็นรอยนูนขึ้นมา ส่วนฝ่าเท้าขาหลังซ้ายไม่มีแผล ไม่มีสิ่งแปลกปลอม จึงได้ทำการเจาะหนองออก ล้างแผลด้วยน้ำเกลือล้างแผล ทำความสะอาด และใส่ครีมรักษาการติดเชื้อ จากนั้นฉีดยารักษาการติดเชื้อ ยาลดปวดลดอักเสบ วิตามินบำรุงกล้ามเนื้อ ยาบำรุงเลือด ยาถ่ายพยาธิภายในและป้องกันหนอนและแมลง พร้อมเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจสุขภาพทั่วไป โรคที่สำคัญในช้าง (EEHV) และตัวอย่างหนอง เพื่อตรวจหาความไวรับต่อยาปฏิชีวนะที่ใช้ จากนั้นได้ทำการฝังไมโครชิพหลังใบหูข้างขวา เลขไมโครชิพ 933076400508722 โดยหลังการรักษา ให้ยาแก้ฤทธิ์ยาซึม ช้างป่าสามารถฟื้นจากยาซึมได้ดี ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง จะติดตามอาการอย่างใกล้ชิดต่อไป


ที่มา: สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 ศรีราชา



ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ

พลายด้วน
ช้างป่า
ช้างป่าบาดเจ็บ
สัตว์ป่าธรรมชาติ