นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยถึงการ เตรียมการของรัฐบาลไทย เพื่อรับมือกับนโยบายทรัมป์ 2.0 ว่า ขณะนี้ยังไม่เห็นความคืบหน้า ของการเตรียมรับมือกับนโยบายทรัมป์ 2.0 หรือมาตรการต่างๆ สหรัฐอาจนำมาใช้ เพื่อหวังลดการขาดดุลการค้ากับไทย
ดังนั้น หากรัฐบาลยังไม่มียุทธศาสตร์การเจรจาต่อรอง อาจไม่ทันกับการรับมือ และอาจทำให้การส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐได้รับผล กระทบแน่นอน
ทั้งนี้องค์การภาคเอกชนต่างๆ รวมถึง สรท. ต้องการให้รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเตรียมการรับมือ เพราะภาคเอกชนเป็นผู้ส่งออก ผู้ทำการค้ากับสหรัฐฯ ตัวจริง มีข้อมูล รายละเอียดต่างๆ ชัดเจน
สรุปข่าว
จะทำให้สามารถวางแผน และกำหนดยุทธศาสตร์ในการเจรจาต่อรองได้อย่างชัดเจน เรื่องนี้ภาคเอกชนเรียกร้องมาโดยตลอด แต่กลับไม่ได้รับติดต่อจากรัฐบาลให้เข้าร่วมด้วยเลย
อย่างไรก็ตาม มองว่า การเตรียมรับมือของภาครัฐล่าช้าเกินไป ทำให้เกรงว่าการส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐอาจได้รับผลกระทบ หรือลดลงจากปีก่อนมีมูลค่าเกือบ 55,000 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18 ของการส่งออกทั้งหมดของไทย
สำหรับการเจรจาต่อรอง มีข่าวออกมาว่า ไทยอาจเพิ่มการนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐในรายการนำเข้าอยู่แล้ว เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง และน้ำมันดิบ จึงอยากให้รัฐบาลชั่งน้ำหนักให้ดีระหว่างการเพิ่มการนำเข้าสินค้าเกษตร
อาจก่อปัญหาให้กับภาคเกษตรในระยะยาวกับการลดมูลค่าการได้ดุลการค้ากับสหรัฐ ไทยได้ดุลมาอย่าง ต่อเนื่องหลายปี
ล่าสุดปี 2567 ไทยได้ดุลเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มูลค่ากว่า 35,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 1 ล้าน 2 แสนล้านล้านบาท เพราะต้องเพิ่มมูลค่าการนำเข้าเท่าไร จึงจะถึงจุดที่สามารถลดขาดดุลการค้าของสหรัฐได้
นอกจากเรื่องแก้ปัญหาได้ดุลการค้ากับสหรัฐแล้ว ไทยยังต้องแก้ปัญหาการขาดดุลการค้ากับจีนด้วย ล่าสุดปี 2567 ไทยขาดดุลมากถึง 1 ล้าน 6 แสนล้านล้านบาท ต้องเร่งแก้ปัญหาการนำเข้าสินค้าจากจีนทะลักเข้าสู่ไทยมาก คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกหลังจากสหรัฐใช้มาตรการทางภาษีกับสินค้าจีน