หนีตายจากภาษีทรัมป์ สินค้าจีนจ่อทะลักเข้าไทยอีกเพียบ
จับตากันให้ดี ตั้งรับกันให้ได้ โดยเฉพาะSME ของไทย
ร้านค้ารายย่อย บอกเลยว่าต้องเหนื่อยกันหน่อยหลังจากนี้
ล่าสุดสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ระบุว่าสงครามการค้า ภาษีทรัมป์
อาจทำให้ตลาดค้าปลีกบ้านเราหดตัวลงจากปีก่อน
การค้าการขายในประเทศหลังจากนี้มีความท้าทายหลายด้าน
โดยเฉพาะผลกระทบจากระดับโลกมาสู่ระดับรากของไทยได้เช่นกัน
จากเกิดสงครามการค้า ระหว่างสหรัฐ และจีน ที่เดินหน้าขึ้นภาษีตอบโต้กันไปมา
และไทยเราเองก็ถูกขึ้นภาษีนำเข้าไปยังสหรัฐด้วยเช่นกัน
แม้จะมีความหวังเรื่องการต่อรองและเจรจา แต่ก็ยังไม่ชัดเจนไม่แน่นอนเสมอไป
ล่าสุดข้อมูลจากสมาคมผู้ค้าปลีกไทย โดยนายณัฐ วงศ์พานิช ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย
เปิดเผยว่า ปีนี้ค้าปลีกไทยต้องเจอกับความท้าทายอย่างหนักหน่วง
ย้ำว่าผู้ประกอบการค้าปลีกไทยไม่เพียงต้อง “อยู่รอด” แต่ต้อง “ยืนหยัด” และ “ก้าวนำ”
ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน
การ “ตั้งรับ รุกกลับ และปรับตัว” จึงเป็นกุญแจสำคัญในการฝ่าวิกฤติ
ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ภาคค้าปลีกไทยในปี 2567 มีมูลค่าประมาณ 4 ล้านล้านบาท
คิดเป็น 16% ของ GDP แต่แนวโน้มในปีนี้จะหดตัวลง
จากการเติบโตของยอดขายในช่วงปี 2567-2568 ชะลอตัวลงเฉลี่ย 3.4%
เทียบกับช่วงปี 2565-2566 ที่เติบโต 5.9%
สาเหตุหลักมาจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว กำลังซื้อผู้บริโภคฟื้นตัวช้า
และการแข่งขันรุนแรงจากแพลตฟอร์ม E-Commerce ต่างชาติ
โดยเฉพาะสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ และจีน มีผลกระทบต่อการส่งออกของไทย
และอีกด้านทำให้สินค้าจีนเกิดปัญหาล้นตลาด โอเวอร์ซัพพลาย หาที่ระบาย หาที่ขายไม่ได้
มีโอกาสทะลักเข้ามาในไทย และภูมิภาคอาเซียนจำนวนมาก
ซึ่งจะไปกระทบต่อผู้ประกอบการไทย และ SME ที่มีอยู่กว่า 3.3 ล้านราย
รวมถึงปัจจัยเสี่ยงเรื่องต้นทุนการดำเนินธุรกิจที่สูงขึ้นจากการปรับค่าแรง ค่าขนส่ง และค่าพลังงาน
ทั้งหมดนี้อาจรุนแรงหนักถึงขึ้นทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องปิดกิจการหรือมีการเลิกจ้างแรงงานได้
สรุปข่าว
หนีตายจากภาษีทรัมป์ สินค้าจีนจ่อทะลักเข้าไทยอีกเพียบ
จับตากันให้ดี ตั้งรับกันให้ได้ โดยเฉพาะSME ของไทย
ร้านค้ารายย่อย บอกเลยว่าต้องเหนื่อยกันหน่อยหลังจากนี้
ล่าสุดสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ระบุว่าสงครามการค้า ภาษีทรัมป์
อาจทำให้ตลาดค้าปลีกบ้านเราหดตัวลงจากปีก่อน
การค้าการขายในประเทศหลังจากนี้มีความท้าทายหลายด้าน
โดยเฉพาะผลกระทบจากระดับโลกมาสู่ระดับรากของไทยได้เช่นกัน
จากเกิดสงครามการค้า ระหว่างสหรัฐ และจีน ที่เดินหน้าขึ้นภาษีตอบโต้กันไปมา
และไทยเราเองก็ถูกขึ้นภาษีนำเข้าไปยังสหรัฐด้วยเช่นกัน
แม้จะมีความหวังเรื่องการต่อรองและเจรจา แต่ก็ยังไม่ชัดเจนไม่แน่นอนเสมอไป
ล่าสุดข้อมูลจากสมาคมผู้ค้าปลีกไทย โดยนายณัฐ วงศ์พานิช ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย
เปิดเผยว่า ปีนี้ค้าปลีกไทยต้องเจอกับความท้าทายอย่างหนักหน่วง
ย้ำว่าผู้ประกอบการค้าปลีกไทยไม่เพียงต้อง “อยู่รอด” แต่ต้อง “ยืนหยัด” และ “ก้าวนำ”
ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน
การ “ตั้งรับ รุกกลับ และปรับตัว” จึงเป็นกุญแจสำคัญในการฝ่าวิกฤติ
ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ภาคค้าปลีกไทยในปี 2567 มีมูลค่าประมาณ 4 ล้านล้านบาท
คิดเป็น 16% ของ GDP แต่แนวโน้มในปีนี้จะหดตัวลง
จากการเติบโตของยอดขายในช่วงปี 2567-2568 ชะลอตัวลงเฉลี่ย 3.4%
เทียบกับช่วงปี 2565-2566 ที่เติบโต 5.9%
สาเหตุหลักมาจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว กำลังซื้อผู้บริโภคฟื้นตัวช้า
และการแข่งขันรุนแรงจากแพลตฟอร์ม E-Commerce ต่างชาติ
โดยเฉพาะสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ และจีน มีผลกระทบต่อการส่งออกของไทย
และอีกด้านทำให้สินค้าจีนเกิดปัญหาล้นตลาด โอเวอร์ซัพพลาย หาที่ระบาย หาที่ขายไม่ได้
มีโอกาสทะลักเข้ามาในไทย และภูมิภาคอาเซียนจำนวนมาก
ซึ่งจะไปกระทบต่อผู้ประกอบการไทย และ SME ที่มีอยู่กว่า 3.3 ล้านราย
รวมถึงปัจจัยเสี่ยงเรื่องต้นทุนการดำเนินธุรกิจที่สูงขึ้นจากการปรับค่าแรง ค่าขนส่ง และค่าพลังงาน
ทั้งหมดนี้อาจรุนแรงหนักถึงขึ้นทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องปิดกิจการหรือมีการเลิกจ้างแรงงานได้
ทั้งนี้เบื้องต้นประเมินว่าสินค้าที่คาดว่าจะทะลักเข้ามาในประเทศ คือ
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าแอกเซสซอรี และสินค้าเครื่องหนัง
นอกจากนี้เรายังต้องระวังหรือกังวลสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาด้วย
พร้อมย้ำว่าภาคค้าปลีกของไทยมีความสำคัญ
ยังคงเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
ทั้งในภาคการผลิต การบริโภค และการจ้างงาน
เมื่อหนีไม่ได้ เราก็ต้องสู้และป้องกัน
ทางสมาคมผู้ค้าปลีกไทย จึงได้เสนอแนวทางให้ผู้ประกอบการปรับตัว
ขณะที่ภาครัฐก็ควรเร่งทำมาตรการต่างๆเพื่อป้องกันและดูแล
4 แนวทางสำหรับภาครัฐ คือ
1. เพิ่มการตรวจสอบแบบ 100 % แทนสุ่มตรวจ
สำหรับจากปัญหาสินค้าจากต่างประเทศที่เข้ามาไทย
ด้วยระบบเทคโนโลยีที่มีความแม่นยำ ทั้งการมีมาตรฐาน มอก. และฉลากต้องเป็น ภาษาไทย
2. เร่งปราบปรามธุรกิจนอมินี (Nominee) ที่สวมสิทธิคนไทยทุกระดับ
เช่น ร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต และโรงแรมศูนย์เหรียญ
เพื่อป้องกันการไหลออกของเม็ดเงิน
ทำให้รายได้หมุนเวียนกลับสู่ระบบเศรษฐกิจ และคนไทย
อีกทั้งต้อง ป้องกันการสวมสิทธิผลิตสินค้าที่ใช้ไทยเป็นฐานการผลิตส่งออกไปสหรัฐ (Re-Export) ส่งผลให้ไทยเกินดุลสหรัฐ
3. จัดเก็บภาษีกับสินค้าออนไลน์ตั้งแต่บาทแรก
ขอให้มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT 7% กับสินค้าออนไลน์นำเข้าไทยที่มีมูลค่าตั้งแต่บาทแรก
จากเดิมสินค้าไม่เกิน 1,500 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี
ซึ่งควรออกเป็นกฎหมายบังคับใช้เป็นการถาวร
4. ดันไทยสู่ ชอปปิง พาราไดซ์
ส่งเสริมการชอปปิงของนักท่องเที่ยว ด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทย
ดึงดูดนักท่องเที่ยวระยะไกลเข้ามาในประเทศ ทั้งจากยุโรป และตะวันออกกลาง
พร้อมมีมาตรการทางภาษี เพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย และดึงดูดนักท่องเที่ยว
สำหรับแนวทางของผู้ประกอบการควรรับมือค้าปลีกที่เปลี่ยนแปลงไป
แนะนำเทรนด์ค้าปลีกในครึ่้งปีหลังจากนี้
มุ่งเน้นไปที่การปรับตัวสู่ดิจิทัลและความยั่งยืน ได้แก่
Convergence Commerce as the New Standard
มุ่งสร้างประสบการณ์ที่เชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อระหว่างช่องทาง Offline และ Online
รวมถึงร่วมมือร้านค้ารายใหญ่ และรายย่อยให้เป็นระบบนิเวศ (Ecosystem) เดียวกัน
AI Personalization Engine
มุ่งนำเสนอสินค้า โปรโมชัน และประสบการณ์
ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าแต่ละรายอย่างเฉพาะบุคคล (Personalization)
ใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อบริหารจัดการสต๊อกสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ช่วยเพิ่มยอดขาย ลดปริมาณสินค้าคงคลัง
Sustainable Retail
เพราะผู้บริโภคยุคใหม่ให้ความสนใจแบรนด์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และมุ่งใช้บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน
สินค้าจีนไม่ได้ทะลักแค่ไทยแต่ไปทั่วโลก
นอกจากเข้ามาขายแข่งกับท้องถิ่น
อีกหนึ่งปมที่ต้องเฝ้าระวังคือ การสวมรอยสวมสิทธิ์ด้วย
เช่น สินค้าไทย Made in Thailand ก็เช่นกัน
ล่าสุดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ขยับตัว ออกมาตรการคุมเข้มตามคำสั่งนายกฯแล้ว
22 เมษายนที่ผ่านมา นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ได้เชิญทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมด่วน
เรื่อง "การป้องกันการสวมสิทธิสินค้าเฝ้าระวังไปสหรัฐอเมริกา"
ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กรมศุลกากร หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ภายหลังจากการประชุม นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า
การส่งออกสินค้าเฝ้าระวังดังกล่าวไปสหรัฐฯ ต้องใช้หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Form C/O ทั่วไป
ทั้งนี้ปัจจุบันประเทศไทยมีหน่วยงานที่สามารถออกหนังสือรับรองฯ Form C/O ทั่วไป
รวมทั้งสิ้น 3 หน่วยงาน ได้แก่ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์,
หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ดังนั้นภายหลังจากหารือร่วมกัน ที่ประชุมได้เสนอแนวทางการดำเนินการแก้ไข 4 มาตรการ ดังนี้
1. มอบกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
เป็นหน่วยงานออกหนังสือรับรองฯ สำหรับสินค้าเฝ้าระวังไปสหรัฐฯ เพียงหน่วยงานเดียว
2. กรมค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
จะดำเนินการปรับปรุงกระบวนการการตรวจสอบก่อนออกใบรับรอง
โดยมีการตรวจโรงงานอย่างละเอียดและตรวจเอกสารการส่งออกอย่างเข้มงวด
สำหรับสินค้าที่มีความเสี่ยงสูง
3. กรมการค้าต่างประเทศได้หารือกับศุลกากรสหรัฐฯ
(U.S. Customs and Border Protection: CBP)
ถึงข้อกังวลและแนวทางดำเนินการร่วมกัน โดยจะจัดทำเป็นแนวทางการทำงานและการตรวจสอบร่วมกัน
4. นายกรัฐมนตรีได้ขอความร่วมมือหน่วยงานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนร่วมมือกันแก้ปัญหาในในช่วงระยะเวลา 90 วันนี้ให้แล้วเสร็จ
พร้อมหาแนวทางในอนาคตที่จะมีการป้องกันสินค้าที่จะมาสวมสิทธิแล้วส่งออกไปยังประเทศปลายทางอื่นๆ ด้วย
สินค้าจีนทะลักโลก โจทย์ใหญ่ของทุกประเทศเวลานี้
ไม่ใช่เพียงแค่ไทย แต่โดยกันไปถ้วนหน้า โดยเฉพาะอาเซียน
เป็นผลพวงจากสงครามการค้าที่บรรยากาศยังคงตึงเครียด อยู่บนความไม่แน่นอน
จับตากันต่อไปว่าจะลงเอยเช่นไร และไทยเราจะรับแรงกระแทกหนักแค่ไหน
เพราะอาจไม่ใช่แค่สินค้าจีนที่น่ากลัว